Bank Term Lending Program และ ประเด็นธนาคารในสหรัฐล้มละลาย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยซึ่งจับตามาตรการต่างๆ ที่ทางการสหรัฐใช้ในการกำกับดูแลกรณีธนาคาร Silicon Valley Bank หรือ SVB และ Signature Bank ล้มละลาย… ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ และ สัญญาณทางเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายต้องตื่นตัวอย่างมาก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า… กรณีธนาคาร Silicon Valley Bank ที่ประสบปัญหา ทำให้ได้เห็นมาตรการที่ทางการสหรัฐใช้รับมือกับปัญหาในกรณีในแนวทางใหม่ที่ไม่เคยดำเนินการมาก่อน โดยมีมาตรการหลักที่ออกมา 2 มาตรการ คือ…

  1. Bank Term Lending Program หรือ BTLP… ซึ่งเป็นการปล่อยกู้ตามวงเงินตราสารที่นำมาค้ำประกันเพื่อลดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องให้ธนาคาร… ซึ่งเมื่อครบกำหนดตามอายุสัญญาเงินกู้  ธนาคารที่ขอยืมสภาพคล่องจะต้องนำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาคืนให้ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED 
  2. การให้การคุ้มครองผู้ฝากเงินในธนาคารที่ปิดตัวลงทั้ง Silicon Valley Bank และ Signature Bank แบบครอบคลุมโดยไม่ได้ “อุ้ม หรือ Bailout” ธนาคารที่ประสบปัญหา เพราะไม่ได้มีการอัดฉีดเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยพยุงกิจการ จึงไม่ได้เป็นภาระโดยตรงต่อผู้เสียภาษี หรือ Taxpayer… โดยจะเป็นการนำเงินมาจากบัญชีของธนาคารที่ปิดกิจการ และ กองทุนประกันเงินฝากเท่านั้น

อย่างไรตาม… นักวิเคระห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่า จุดอ่อนของมาตรการ BTLP น่าจะอยู่ที่ธนาคารที่เผชิญแรงกดดันจากการไหลออกของเงินฝากนั้น จะถือครองสินทรัพย์คุณภาพสูงในปริมาณที่มากพอที่จะนำไปค้ำประกันเพื่อขอกู้เงินเสริมสภาพคล่อง และ นำมาจ่ายคืนเงินฝากที่ถูกไถ่ถอนได้เพียงพอหรือไม่… ในขณะที่มาตรการช่วยผู้ฝากเงินนั้น ผู้รับภาระจะเป็นธนาคารที่ยังเปิดทำการอยู่ ซึ่งต้องมีหน้าที่นำส่งเงินเข้ากองทุนประกันเงินฝาก ซึ่งน่าจะอยู่ในรูปของค่าธรรมเนียมในระยะถัดไปตามข้อกฎหมายที่กำหนด

โดยภาพรวมของมาตรการในกรณีนี้จึงมองได้ว่า… แม้มาตรการ BTLP จะช่วยเข้าประคองสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่แรงกดดันที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องในหุ้นธนาคารในสหรัฐอเมริกาบางแห่ง ยังเป็นสัญญาณที่สะท้อนความเชื่อมั่นที่ยังไม่สามารถฟื้นกลับมาได้ในระยะสั้น และ ยังมีความเป็นไปได้ว่า ธนาคารอื่นๆ ซึ่งมีความเปราะบางอาจจะเผชิญความเสี่ยงจากการเร่งถอนเงินฝากตามไปด้วย… ซึ่งผู้ฝากเงินบางส่วนอาจจะพิจารณาโยกเงินไปยังธนาคารที่ถูกมองว่ามีสถานะเป็น Too Big to Fail ภายใต้สภาวะปั่นป่วนในภาคธนาคารของสหรัฐอเมริกาในรอบนี้… ซึ่งก็หวังว่าจะไม่ใช่จุดเริ่มต้นของวิกฤตสถาบันการเงินรอบใหม่อีกรอบ

ขอบคุณสำนวนข่าวต้นฉบับจาก MGR Online

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

R.D. Offutt

R.D. Offutt… เกษตรกรผู้มีที่ทำกินหนึ่งแสนสองหมื่นหกพันสี่ร้อยกว่าไร่!

เนื้อที่ขนาด 50,000 Acre หรือห้าหมื่นเอเคอร์ ก็ราวๆ 126,464 ไร่… ผมถามคนใกล้ตัวสองสามคนว่า ถ้าเป็นเจ้าของที่ดินขนาดหนึ่งแสนสองหมื่นหกพันสี่ร้อยกว่าไร่จะเอาไปทำอะไร คำตอบเอกฉันท์บอกว่าขอเอาไปขายและใช้ตังค์ว่างั้น!!!

Perpetual Bond… หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ และ SEC Bond Check

หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน หรือ Perpetual Bond ของ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กำหนดอัตราดอกเบี้ยช่วง 5 ปีแรกที่ 5.25%-5.50% ต่อปี… จากนั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยทุกๆ 5 ปี อ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน เสนอขายแก่ผู้ลงทุนสถาบัน และหรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ด้วยการจองซื้อขั้นต่ำ 1 ล้านบาท และ ทวีคูณของ 1 ล้านบาท

Litecoin

Litecoin… The Silver of Digital Currency

Litecoin ก็เหมือนกับสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใช้ Technology Blockchain อื่นๆ ที่มุ่งการใช้ประโยชน์ Blockchain มาปฎิวัติวงการการเงินและชำระราคา เพื่อตัดตัวกลางออกไปเพราะปัญหาหลายๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีตอย่างเช่น การเข้าแทรกแซงระบบการเงินจากตัวกลางที่มีอำนาจมากพอ ในขณะที่ระบบ Decentralised ของ Cryptocurrency ไม่สามารถแทรกแซงได้…

Carol S. Dweck

Teach Their Children To Love Challenges, Be Intrigued By Mistakes, Enjoy Effort, And Keep On Learning – Carol Dweck

งานของ Carol Dweck เกือบทั้งหมดพัฒนาด้วยแนวคิด Implicit Theories of Intelligence หรือ ทฤษฎีความความฉลาดส่วนบุคคล จนเป็นที่มาของงานอันลือลั่นอย่างหนังสือเล่มสีฟ้าชื่อ Mindset: The Psychology of Success ในปี 2006… และทฤษฎีความฉลาดส่วนบุคคลที่เธอค้นพบ ก็กลายเป็นเครื่องมืออย่างสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ขับเคลื่อนด้วยจิตวิทยา มากกว่าจะขับเคลื่อนด้วยความเชื่อและเรื่องเล่าเบาบางเหมือนคำสอนในศาสนาต่างๆ และได้ “บุคคลอันพึงประสงค์” ให้สังคมได้ไม่ต่างกัน