ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร… เสาไฟและสายสื่อสาร

bangkok wire

ปัญหาเรื่องภูมิทัศน์เมืองว่าด้วยเสาไฟฟ้าและสายสื่อสาร ที่แม้แต่คนดังอย่าง Bill Gates ยังเคยโพสต์ภาพสายไฟสภาพสุดยุ่งเหยิงในประเทศไทยลงโซเชียลมีเดีย พร้อมวิจารณ์ว่า… สภาพสายไฟยุ่งเหยิงแบบนี้สะท้อนการจัดการเชิงโครงสร้างที่ไม่ตอบสนองคนใช้ไฟฟ้า และเป็นที่มาของปัญหาไฟฟ้าดับบ่อย

ล่าสุด… กรุงเทพมหานครมีความคืบหน้าของการเคลื่อนไหวผลักดันเอาสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดินผ่านกฏหมายผังเมืองที่เตรียมจะประกาศใช้เร็วๆ นี้

ร่างดังกล่าวได้รับการชี้แจงจาก สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองกรุงเทพมหานครว่า… ผังเมืองรวม กทม. ฉบับใหม่ ที่จะใช้ในปี พ.ศ. 2564 นี้… เป็นครั้งแรกที่กำหนดผังโครงการกิจการสาธารณูปโภค หรือ สภ.7 ไว้ ครอบคลุมการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อสร้างระบบไฟฟ้าที่มั่นคง เป็นการบังคับหน่วยงานพัฒนาตามที่ยกร่างไว้ เพื่อให้การพัฒนาเมืองสวยงาม ปลอดภัย

โดยในรายละเอียดจะกำหนดตามแผนแม่บทการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. จำแนกเป็น “โครงการกิจการสาธารณูปโภคประเภท สภ.7-1” บริเวณหมายเลข สภ.7-1-1 ถึงหมายเลข สภ.7-1-30 ที่กำหนดไว้เป็นเส้นประขีดสีน้ำตาล ให้เป็นโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินทั้งหมด

ซึ่งเขตพื้นที่ตามประกาศผังเมืองดังกล่าว จะครอบคลุมพื้นที่ดังต่อไปนี้คือ 

ถ.รัชดาภิเษก ลาดพร้าว บรรจบกับคลองสามเสน… จากซอยรัชดาภิเษก 18 บรรจบกับ ถ.ประชาราษฎร์บำเพ็ญ 13… ซอยรัชดาภิเษก 7 ถึงซอยเปรมสมบัติ และรัชดาภิเษก 10… ถ.วัฒนธรรม-ถ.พระราม 9… ถ.เทียมร่วมมิตร ถ.ประชาอุทิศ

ถ.ราชวิถี-ถ.พระราม 6… จากซอยเสนารักษ์-ถ.พระราม 6… ถ.พญาไทตัดถ.ศรีอยุธยาถึง ถ.พระราม 6… โครงการรัชดาภิเษก-พระราม 9 จาก ถ.พระราม 9 ตัดกับคลองแยก คลองสามเสน บรรจบซอย 13 ประชาร่วมมิตร… ถ.รัชดาภิเษกตัดคลองสามเสน ถ.อโศก-ดินแดง ถ.อโศกมนตรี กับ ถ.พระราม 4

ถ.ราชปรารภตัด ถ.ศรีอยุธยา ถ.ราชปรารภ ถ.ราชดำริ บรรจบคลองแสนแสบ… ถ.เพชรบุรีฯตัด ถ.บรรทัดทอง ถ.เพชรบุรี กับ ถ.พระราม 6… ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ตัดทางรถไฟ บรรจบซอยสุขุมวิท 63 เอกมัย… ซอยสุขุมวิท 3 บรรจบกับคลองแสนแสบ… ถ.พระราม 1 ตัด ถ.พญาไท ถ.พระราม 1 กับคลองผดุงกรุงเกษม

ซอยสุขุมวิท 15… ซอยสุขุมวิท 31… ซอยสุขุมวิท 33… ซอยสุขุมวิท 18… ซอยสุขุมวิท 20… ซอยสุขุมวิท 22… ซอยสุขุมวิท 24… ถ.นราธิวาสราชนครินทร์ตัด ถ.พระราม 3… ซอยอนุมานราชธน กับ ถ.สุรวงศ์

ถ.พระราม 4 ตัดซอยโรงงานยาสูบ… ถ.พระราม 4 ถึงซอยไผ่สิงโต… ถ.สุขุมวิทตัดคลองพระโขนง… ถ.สุขุมวิทถึงซอยสุขุมวิท 81… ซอยสาธุประดิษฐ์ 12… ถ.สาธุประดิษฐ์ ถึงซอยสาธุประดิษฐ์ 33… ถ.พระราม 3 ตัดคลองขุดวัดช่องลม… ถ.พระราม 3 ถึงแม่น้ำเจ้าพระยาเชิงสะพานกรุงเทพฯ… ซอยสว่างอารมณ์ถึง ถ.สาธุประดิษฐ์… ถ.เลียบทางด่วนเฉลิมมหานคร-ถ.นางลิ้นจี่… ถ.เลียบทางด่วนเฉลิมมหานคร-ถ.สาธุประดิษฐ์ และ ถ.ตก ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา

ในส่วนของ “โครงการกิจการสาธารณูปโภคประเภท สภ. 7–2 ในบริเวณหมายเลข สภ.7–2–1 ถึงหมายเลข สภ.7–2–34” เป็นโครงการแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน รองรับการเป็นมหานครแห่งอาเซียน อาทิ ถ.แจ้งวัฒนะ คลองประปา-คลองบางเขน… แยกรัชโยธิน-ถ.งามวงศ์วาน…. แยกลาดพร้าว-แยกรัชโยธิน… แยกลาดพร้าว -ถ.รัชดาภิเษก เชิงสะพานพระราม 7-แยกท่าพระ… ถ.รัชดาภิเษก-ถ.ศรีนครินทร์… ถ.ประชาราษฎร์สาย 1 ถึง ถ.เตชะวานิช… ถ.ประชาราษฎร์สาย 2 ถึง ถ.ทหาร… ถ.สามเสน-ถ.พระรามที่ 5 และบรรจบกับ ถ.พระราม 6… โครงการ ถ.สามเสน เริ่มต้นจากถนนทหาร จนบรรจบกับ ถ.ครไชยศรี… โครงการ ถ.สามเสน เริ่มต้นจาก ถ.นครไชยศรี จนบรรจบกับ ถ.ลูกหลวง

โครงการรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เริ่มต้นจาก ถ.ราชวิถี ถ.สวรรคโลก ถ.ศรีอยุธยา จนบรรจบกับ ถ.พระราม 5

ถ.ดินแดง-ต้นทางวิภาวดีรังสิต… ถ.จรัญสนิทวงศ์-ถ.อรุณอัมรินทร์… เชิงสะพานพระราม 8 ถึง ถ.ประชาธิปก… ถ.ลาดพร้าว-ถ.รามคำแหง… ถ.วิภาวดีรังสิต ถึงคลองสามเสน และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงสามเหลี่ยมดินแดง-ถ.วิภาวดีรังสิต… ถ.เพชรบุรี-ถ.ศรีนครินทร์… ถ.ศรีอยุธยา -สามเหลี่ยมดินแดง… ถ.พรานนก… ถ.เพชรบุรี… ถ.ชิดลม เพชรบุรี -เพลินจิต… ถ.อังรีดูนังต์ พระราม 1-พระราม 4… ถ.หลังสวน เพลินจิต-สารสิน

ซอยสุขุมวิท 63 -ถ.รามคำแหง… ถ.วิทยุ เพลินจิต-พระราม 4… ถ.ประชาธิปก เชิงสะพานพระปกเกล้า-วงเวียนใหญ่… ถ.สารสิน ราชดำริ-วิทยุ… ถ.พระราม 4 ราชดำริ-สถานีไฟฟ้าย่อย คลองเตย… ถ.สาทร เจริญกรุง-พระราม 4… ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่-รัชดาภิเษก และ ถ.เจริญราษฎร์ พระราม 3-สาทรใต้

ย้อนกลับไปราวๆ ปี พ.ศ. 2527… สามสิบกว่าปีก่อน ข้อมูลตามเอกสารแผนงาน เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ของการไฟฟ้านครหลวง ระบุว่า… โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศ เป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ในพื้นที่สำคัญริเริ่ม 88.3 กิโลเมตร ผ่านไป 30 ปี ทำได้จริงไม่ถึงครึ่ง

โดยโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน แบ่งเป็น 2 แผนหลัก แผนแรกคือแผนดั้งเดิมเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527-2557 ระยะทาง 88.3 กิโลเมตร ประกอบด้วย โครงการสีลม… จิตรลดา… ปทุมวัน… พญาไท… สุขุมวิท… พหลโยธิน… นนทบุรี… พระราม 3… รัชดา-อโศก และรัชดา-พระราม 9

โดยข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2557 หรือครบ 30 ปีของโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินพบว่า… การไฟฟ้านครหลวงดำเนินการแล้วเสร็จ 6 โครงการ ได้แก่ 

1. สีลม… 2.7 กิโลเมตร
2. ปทุมวัน… 6.7 กิโลเมตร
3. จิตรลดา… 6.8 กิโลเมตร
4. พหลโยธิน… 8 กิโลเมตร
5. พญาไท… 3.8 กิโลเมตร
6. สุขุมวิท บางส่วน… 7 กิโลเมตร

รวม 30 ปี ตั้งแต่ริเริ่มปี พ.ศ. 2527-2557 แล้วเสร็จ 35 กิโลเมตร

ส่วนแผนตามโครงการรองรับมหานครอาเซียน ระยะทางนำสายไฟฟ้าลงดินรวม 127.3 กิโลเมตร ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบไปเมื่อเดือนกันยายน 2558… ก็กำลังดำเนินการตามแผนผลักดันผังเมืองรวม กทม. ฉบับใหม่

ให้กำลังใจกันทุกฝ่ายครับ!!!

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Digital Footprint… รอยเท้าดิจิทัล

การสำรวจของเวบไซต์หางาน และ แพลตฟอร์มทรัพยากรมนุษย์ชื่อ Career Builder เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสืบค้นประวัติผู้สมัครงานของตัวแทนนายจ้าง และ องค์กรนายจ้าง ด้วย Digital Footprint หรือ รอยเท้าดิจิทัล… โดยนายจ้างกว่า 70% ยอมรับว่ามีการใช้โซเชียลมีเดียในการค้นหาข้อมูลผู้สมัครงานระหว่างกระบวนการสรรหา โดยสิ่งที่พวกเขามองหาเวลาตรวจสอบก็คือ คุณสมบัติสนับสนุนการตัดสินใจจ้างงาน 58%… ความเป็นมืออาชีพในโลกออนไลน์ 50%… สิ่งที่คนอื่นโพสต์เกี่ยวกับผู้สมัคร 34% และ หาสาเหตุที่จะไม่รับผู้สมัคร 22%

มอเตอร์เวย์นครปฐม – ชะอำ

ข่าวการสร้างมอเตอร์เวย์จาดนครชัยศรี นครปฐม ทะลุถึงท่ายางเพชรบุรีชัดเจนมาตั้งแต่กลางปี 2018 จนล่าสุดโค้งสุดท้ายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา… ความชัดเจนของโครงการขั้นต่อมาก็ยังไม่มีความเคลื่อนไหว

trading-background

Chart Patterns… พื้นฐานการวิเคราะห์ตีความจากทรงกราฟ

ศาสตร์ที่ว่าด้วยการอ่าน และ วิเคราะห์เส้นกราฟราคาสินทรัพย์ลงทุน จึงเป็นศาสตร์แขนงใหญ่มานานนับตั้งแต่เกิดตลาดทุนขึ้นบนโลก ถึงแม้ในทางเทคนิคจะเป็นเพียง “การทำนายด้วยข้อมูลย้อนหลัง” ซึ่งมีโอกาสทำนาย “ทิศทางของแนวโน้มหลัก” ได้ถูกต้อง 50% อยู่แล้ว… เพราะไม่ว่าจะอย่างไร ทิศทางราคาก็มีเพียง “ขึ้นกับลง” เท่านั้นที่เป็นไปได้ ส่วนจะขึ้นสูงถึงไหน หรือ ลงลึกไปเท่าไหร่… อันนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง

Tesla Bitcoin

กระแสบิทคอยน์และคริปโต ปี 2021 และ ซื้อ Tesla ด้วย Bitcoin

การเปิดตัว Ethereum Futures หรือ Ether Futures ในตลาด Chicago Mercantile Exchange หรือ CME และเริ่มต้นซื้อขายครั้งแรกตั้งแต่ 00:00 นาฬิกา วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี 2021 ตามเวลา GMT +0… ในขณะที่ค่ายรถยนต์ Tesla ของ Elon Musk เข้าซื้อสะสม Bitcoin มาตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2020