ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในเขตกรุงเทพ–ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2022

การเปิดตัวเลขผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาส 2/2022 ซึ่งพูดถึงกำไร 8.5 พันล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 4% จากปีก่อน และ เพิ่มขึ้น 6% จากไตรมาส 1/2022 โดยนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า… ครึ่งปีหลัง 2022 จะร้อนแรงกว่าครึ่งปีแรกจากการเปิดโครงการใหม่ และ ยอดโอนที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

คาดการณ์กำไรงวดครึ่งแรกของปี 2022 จึงเห็นตัวเลข 2.9 พันล้านบาท โดยคิดเป็นประมาณ 42% ของประมาณการทั้งปี 2022 โดยได้ตัวเลขรายได้จาก Backlog สุทธิในไตรมาส 2/2022 ที่ 2.79 หมื่นล้านบาท และ มีกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ในครึ่งปีหลังประมาณ 1.37 หมื่นล้านบาท รวมถึงแผนการเปิดตัวโครงการใหม่จำนวนมาก… ซึ่งได้เห็นคำแนะนำให้นักลงทุนสะสมหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์จากโบรกเกอร์เกือบทุกรายที่ปล่อยข้อมูลในโลกออนไลน์

ส่วน ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในเขตกรุงเทพ–ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2022 จากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ แจ้งค่าดัชนีเท่ากับ  354.5 จุด เพิ่มขึ้น 4.0% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และ เพิ่มขึ้น 6.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนามีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี

ความเห็นจาก ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ชี้ว่า… ปัจจัยที่ทำให้ราคาที่ดินเปล่ามีการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 และ ล่าสุดยังได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย–ยูเครน ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2022 ขยายตัวลดลงกว่าที่คาดการณ์… อีกทั้งผู้ประกอบการที่รัฐบาลได้ประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเต็มอัตรา โดยไม่ได้รับส่วนลดร้อยละ 90 เหมือนปี พ.ศ. 2562–2563 ที่ผ่านมา จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องพิจารณาการซื้อที่ดินสะสมลดลง เพื่อควบคุมภาระภาษีที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนในการพัฒนาโครงการในระยะต่อไป

ส่วนโซนที่ดิน 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีดังนี้คือ…

  1. โซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง มีอัตราการเปลี่ยนราคามากถึง 40.5%
  2. โซนบางกรวย-บางใหญ่-บางบัวทอง-ไทรน้อย มีอัตราการเปลี่ยนราคา 24.2%
  3. โซนเมืองนนทบุรี-ปากเกร็ด มีอัตราการเปลี่ยนราคาราคา 23.6%
  4. โซนพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ มีอัตราการเปลี่ยนราคา 12.3%
  5. โซนเมืองสมุทรปราการ-พระประแดง-พระสมุทรเจดีย์ มีอัตราการเปลี่ยนราคา 8.5%

สำหรับราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในแนวเส้นทางที่มีรถไฟฟ้าผ่านพบว่า… เส้นทางรถไฟฟ้า 5 อันดับแรกที่มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า และ เส้นทางที่มีแผนการก่อสร้างในอนาคต  โดยมีรายละเอียดดังนี้

อันดับ 1 สายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-ศาลายา… ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 10.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน… โดยราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นมากอยู่ในเขตทวีวัฒนา และเขตตลิ่งชัน

อันดับ 2 สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี… ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความคืบหน้าการก่อสร้างไปแล้วกว่า 90.7% ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน… โดยราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นมากอยู่ในเขตหลักสี่ และ เขตคันนายาว

อันดับ 3 สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน… ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2559 มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 8.53%  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน… โดยราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นมากอยู่ในอำเภอเมืองนนทบุรี และ อำเภอบางบัวทอง

อันดับ 4 สายสีเขียว สมุทรปราการ-บางปู… ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังจะก่อสร้างในอนาคต และ สายสีเขียว ตอนแบริ่ง–สมุทรปราการ เปิดให้บริการแล้ว โดยราคาที่ดินทั้ง 2 เส้นทาง มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.51% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นมากอยู่ในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ

อันดับ 5 สายสีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑล สาย 4… ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังจะก่อสร้างในอนาคต มีอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 8.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน… โดยราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นมากอยู่ในเขตหนองแขม และ เขตบางแค

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Industry Convergence and Industrial Innovation… การบรรจบกันทางอุตสาหกรรมและนวัตกรรมอุตสาหการ

Thilo Koslowski ในฐานะนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมจาก Gartner ได้พูดถึงความสำคัญของการบรรจบกันทางอุตสาหกรรม หรือ Industry Convergence ซึ่งจะเป็นสภาวะและบริบททางเทคนิคของ Industry 4.0 ว่า… Industry Convergence เป็นพื้นฐานทางโอกาสในการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยการหลอมรวมของขอบเขตทางอุตสาหกรรมยุคก่อนเข้าด้วยกัน จนกลายเป็น “ไร้ขอบเขต” ที่ชัดเจนในการผลิต จำหน่าย และ ให้บริการ ซึ่งแน่นอนว่า… รอยต่อของขอบเขตทางอุตสาหกรรมที่เคยมีมาก่อน จะถูกแนวทาง หรือ หลักการทางธุรกิจดิจิทัล หรือ Digital Business Principles เชื่อมโยงให้อุตสาหกรรมหลายสาขา… กลายเป็นสินค้า และ บริการแบบใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิมจนไม่เห็นเส้นแบ่ง…

3d-printed

Construction 3D Printing…

การสร้างบ้านหรืออาคารด้วยคอนกรีต ได้รับความนิยมจากทั่วโลก ส่วนเทคนิดการก่อสร้างที่มีซีเมนต์และคอนกรีตเป็นฐาน หรือ Concrete & Cement-Based Construction ก็มีการนำไปใช้ในการก่อสร้างน้อยใหญ่ทุกหนทุกแห่งและทุกสิ่งในโลกใบนี้… มองรอบตัวซิครับ สิ่งก่อสร้างจากคอนกรีตไม่ได้อยู่ห่างจากตัวคุณเลย เผลอๆ คุณอาจจะยืนอยู่บนคอนกรีตก็ได้

AgriDrone

AgriTech… ในวันที่แรงงานหาไม่ง่าย และ จ่ายแพง

การวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมองว่า… การส่งเสริม AgriTech ที่ไทยควรมุ่งไป น่าจะเป็น AgriTech สำหรับพื้นที่จำกัด เนื่องจากสร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงและสามารถเอาชนะข้อจำกัดของสภาพภูมิอากาศได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่เงื่อนไขความสำเร็จยังขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ภาพตลาดหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ระบบโลจิสติกส์ตลอดสายการผลิต ความพร้อมด้านเงินทุนและเทคโนโลยี ทำเลที่ตั้ง ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันและการทำกำไรในระยะยาว นอกจากนี้ คงต้องอาศัยการให้การสนับสนุนจากภาครัฐร่วมด้วย เช่น การส่งเสริมการลงทุน สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี เป็นต้น

EEC… กับตัวเลขที่น่าสนใจ

วันนี้ขออนุญาตนำเสนอข้อมูลนอกกรอบอสังหาริมทรัพย์และ Proptech หน่อยน๊ะครับ ที่จริงก็ไม่ถึงกับหลุด Concept ของ Properea นักหรอกครับ… ผมไปเจอข่าวที่คุณวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยถึงสถิติการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ของสามจังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองว่า ในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.) ปี 61 มีจำนวน