โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งในเมือง เป็นเรื่องสำคัญต่อทิศทางการเติบโตของเมืองเสมอ ซึ่งการเติบโตของเมือง ก็มาจากผู้คนที่เพิ่มขึ้น ทั้งการอยู่อาศัยและเดินทางเข้าออกพื้นที่จากพลวัตรเชิงสังคมที่มีมิติให้คนที่สนใจ จับต้องและเข้าถึงโอกาส ได้เท่าๆ กับเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรค… เพื่อแปลงเป็นโอกาสได้อีกมากเช่นกัน

ผมกลับไปอ่านบทความเก่าที่ Bookmark ไว้ตั้งแต่ต้นปี 2018 ที่เวบไซต์ brandbuffet.in.th เผยแพร่บทความเรื่อง ผ่าอนาคต “อสังหาฯ-คุณภาพชีวิตคนไทย ปี 2570 เมื่อกรุงเทพฯ มีรถไฟฟ้า 11 สาย 297 สถานี” ซึ่งเป็นข้อมูลจากการบรรยายของอาจารย์ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในฐานะ CEO บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ในขณะนั้น… ข้อมูลในบทความฉบับเต็มผมวางลิงค์ไว้ที่อ้างอิงตอนท้ายเช่นเดิมครับ
เพราะประเด็นที่ผมจะโฟกัสวันนี้ เป็นคนละเรื่องเดียวกันกับรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ที่ข้อมูลชี้ว่า… สิ้นปี 2570 หรืออีกเพียงแปดปีนับจากนี้… กรุงเทพจะมีรถไฟฟ้าใช้สัญจรไปมามากถึง 11 สาย 297 สถานี กับระยะทางรวม 466.1 กิโลเมตร
ประเด็นก็คือ… รถไฟฟ้าทั้ง 11 สายในปี 2570 ยังไม่ใช่ทางออกของปัญหาการจราจรในกรุงเทพเลยแม้แต่น้อย!!!
ใครที่ทำงานในกรุงเทพจะทราบดีว่า… เกือบทุกสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพ… เรามักจะเห็นแถวรอคิวมอเตอร์ไซด์รับจ้างยาวเหยียดในชั่วโมงเร่งด่วน… ในขณะที่รถเมล์ รถรับจ้าง รถส่วนตัวบนถนนก็ยังหนาแน่นติดขัดและเคลื่อนตัวได้ช้ากว่าการเดินเท้าด้วยซ้ำในบางกรณี

คำถามคือ… ปรากฏการณ์นี้เป็นปัญหาหรือโอกาสในทัศนะของท่าน?
หลายท่านที่รู้จักผมจะทราบดีว่า… ผมเป็นคนมองพลวัตรของคนเป็นโอกาส และมักขายไอเดียที่ใช้คนหรือลูกบ้านตามเป้าหมาย มาสร้างโจทย์การออกแบบประจำ… อย่างเช่น เรื่องทำคอนโดขายแต่ก็เสนอให้ออกแบบการเดินทางเข้าออกโครงการของลูกบ้านแบบที่รู้เลยว่า คนแถวไหนเมื่อมาอยู่ในโครงการแล้วจะสะดวกสุดๆ… เลยไปถึงวิเคาะห์ด้วยว่าคนแถวนั้นมีมากพอจะปิดโครงการได้เร็วช้าแค่ไหนด้วย
เรื่องคอนโดติดรถไฟฟ้า หรือเรื่องราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า… สำหรับทัศนแบบผมจึงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งของทั้งหมด ที่ยังเหลือประเด็นอีกมากให้ศึกษาเพิ่มเติมก่อนอะไรๆ จะไปถึงการตลาดและการขาย… ซึ่งทุกท่านที่อยู่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ระดับ Developers ย่อมทราบดีว่า… คอนโดมิเนียมใกล้สถานีรถไฟฟ้าก็ไม่ได้ขายออกหมด คนอยู่ครบหรือแม้แต่ปิดโครงการได้ทั้งหมด… ตรงกันข้ามที่ข้อมูลในมือผมล่าสุดยังชี้ชัดว่า… ยูนิตตกค้างเหลือขายรอจำหน่ายต่อไป… ยังมีอีกไม่ใช่น้อย
ถึงตรงนี้ท่านคงทราบแล้วว่าผมกำลังพูดถึง “ปัจจัยแห่งโอกาส”… ที่ยังเป็นแนวคิดเรื่องการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำเป็นจะต้องคิดไกลกว่าการสร้างที่อยู่อาศัยขายเพียงมิติเดียว… เพราะลูกค้ายังต้องเดินทางไปนั่นมานี่ตลอดเวลาและรอให้ใครซักคน… เข้าไปโอบอุ้มปัญหาความ “สะดวกสะบายในการสัญจรขนส่ง” ที่รถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีกกี่สถานีก็ยังไม่ใช่คำตอบของทั้งหมด
และผมเชื่อว่าอีกนานกว่าระบบจะเป็นระบบที่ดีกว่านี้ หรืออาจจะไม่มีวันนั้นเลยก็ได้… คำถามคือ ท่านคิดว่าคนเลือกที่อยู่อาศัยใกล้สถานีรถไฟฟ้าเพราะรถไฟฟ้า… หรือเป็นเพราะการคมนาคมสัญจรที่ผู้คนเชื่อว่าสะดวกกว่าหรือดีกว่ากันแน่?
ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ชัชชาติในประเด็น Feeder ที่ยังเป็นปัญหา… หรืออีกนัยหนึ่งยังเหลือโอกาสและช่องว่างให้เติมเต็มได้อีกมาก…
ก็… ผมเชื่อจริงๆ ว่า การสัญจรใช้ทำจุดขายโดนๆ ได้… อย่างแน่นอน!!!
อ้างอิง