Avalanche Network และ AVAX Coin

AVAX Coin

การพัฒนาบล็อกเชนเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure สำหรับอุตสาหกรรมทางการเงิน และ กำลังจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบนิเวศดิจิทัล ซึ่งจะเข้ามาทดแทนฐานข้อมูล หรือ Database ธรรมดาที่เป็นพื้นฐานของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เราท่านใช้ชีวิตประจำวันพึ่งพาอยู่… โดยเฉพาะฐานข้อมูลส่วนที่ต้องการความโปร่งใส่เชิงธรรมาภิบาล พร้อมคุณสมบัติการเข้ารหัสข้อมูลด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด แต่ไม่เป็นอุปสรรคในการค้นคืนและเรียกใช้

บล็อกเชนในอุตสาหกรรมทางการเงิน ซึ่งได้ให้กำเนิด Cryptocurrencies มากมายโดยมีราชาคริปโตอย่าง Bitcoin และ มหาอำนาจบล็อกเชนอย่าง Ethereum นำพาการปฏิวัติอุตสาหกรรมทางการเงินจนข้ามข้อสงสัยเรื่องมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจ เข้าสู่ยุคของการลงทุนบนสินทรัพย์และหลักทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมทางการเงินไปตลอดกาล

อย่างไรก็ตาม… การพัฒนาบล็อกเชนขึ้นใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน และ ประยุกต์ใช้งานทางอุตสาหกรรรมยังมีปัญหาสำคัญในเชิงเทคนิคที่ท้าทายจากขีดจำกัดแบบที่เรียกว่า Blockchain Trilemma ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลเพื่อให้เทคโนโลยีบล็อกเชนมีคุณสมบัติอันพึงประสงค์ขั้นพื้นฐาน 3 ด้าน สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งประกอบด้วย

  1. Decentralization หรือ คุณสมบัติด้านการกระจายศูนย์ หรือ ไร้ศูนย์กลาง… เพื่อให้การบันทึกข้อมูลในเครือข่ายไม่มีผู้ทรงอิทธิพลเหนือข้อมูล และ มีโอกาสใช้อิทธิพลเหนือข้อมูลตั้งตนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจะ “ทำลายกลไกธรรมภิบาล” ให้ขาดความน่าเชื่อถือทันที
  2. Security หรือ คุณสมบัติด้านความปลอดภัย… เป็นคุณสมบัติที่ต้องมีไว้เพื่อปกป้องภัยคุกคามภายนอกทั้งมุ่งเป้าการทำลาย และ มุ่งเป้าการยึดครอง โดยมีช่องโหว่ หรือ Bug ของโปรแกรม และ การโจมตีแบบ 51% Attack ซึ่งสมดุลการจัดการเครือข่ายส่วนใหญ่ หรือ เกินครึ่งถูกครอบครองโดยบางคน และ เข้ามาเป็นผู้ทรงอิทธิพลเหนือข้อมูล
  3. Scalability หรือ คุณสมบัติด้านปรับขนาด… ซึ่งบล็อกเชนในกรณีการใช้งานจริงจำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการขยายเครือข่ายเพื่อรองรับปริมาณธุรกรรมให้ได้สูงสุดเพื่อรองรับการใช้งาน และ ผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น

ภาพจาก Twitter

ประเด็นก็คือ… Blockchain Trilemma เป็นปัญหาระดับอัลกอริธึมที่ต้องใช้ในการกำหนดเทคนิคการบันทึกบล็อกแบบได้อย่างเสียอย่าง ซึ่งบล็อกเชนทุกเครือข่ายที่สร้างขึ้นใช้ในปัจจุบัน ต่างก็ทำได้ดีที่สุดเพียง “ได้สองอย่าง–เสียหนึ่งอย่าง” กันหมด… ตัวอย่างกรณีของเครือข่าย Bitcoin ที่มีคุณสมบัติในด้านการกระจายศูนย์ หรือ Decentralization สูงสุดถึงขั้นใครที่มีคอมพิวเตอร์ก็สามารถเข้าร่วมตรวจสอบธุรกรรม หรือ ขุดบิตคอยน์ได้หมด และ ยังมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัย หรือ Security ทั้งไม่มี Bug Program เพราะไม่ได้สร้างให้ทำงานซับซ้อน หรือ เปิดช่องให้เขียนคำสั่งเพิ่มได้ ทำให้โอกาสในการพยายามครอบครองครือข่ายเกิน 51% เป็นไปไม่ได้อย่างชัดเจน… แต่บิตคอยน์ก็มีจุดอ่อนที่ไม่มีความสามารถขยายเครือข่าย หรือ Scalability รองรับการใช้งานจำนวนมาก จนเหลือเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน

ราวเดือนพฤษภาคมปี 2018… ก็มีการเผยแพร่เอกสารชื่อ Snowflake to Avalanche: A Novel Metastable Consensus Protocol Family for Cryptocurrencies บน InterPlanetary File System หรือ IPFS ซึ่งเป็นข้อมูลจากบทความตีพิมพ์เกี่ยวกับอัลกอริธึมในการพัฒนาบล็อกเชน ที่มาพร้อมแนวคิดการสร้างสมดุล Blockchain Trilemma จากงานวิจัยของ Professor Emin Gün Sirer และ นักศึกษาปริญญาเอกสองคนคือ Maofan Ted Yin และ Kevin Sekniqi จาก Cornell University

มีนาคม ปี 2020…ผู้ร่วมก่อตั้ง Avalanche ก็ผลักดันเครือข่ายผ่าน AVA DAP หรือ Avalanche Developer Accelerator Program โดยนำ Source Code เปิดตัวเป็น Open-source และ ทำ ICO หรือ Initial Coin Offering ด้วยเหรียญ AVAX ซึ่งปิดโปรแกรมระดมทุนอย่างรวดเร็วในเดือนกรกฎาคม ปี 2020… และ เปิดตัว Avalanche Mainnet ในเดือนกันยายนในปีเดียวกัน

Avalanche เป็นแพลตฟอร์ม Blockchain ที่มาพร้อม Smart Contract ซึ่งรองรับการพัฒนา dApp หรือ Decentralized Application โดยใช้อัลกอริธึมแบบ Proof Of Stake พร้อมเทคโนโลยี DAG Consensus หรือ Direct Acyclic Graph Tangle ซึ่งจะสุ่ม Blockchain Node เพื่อยืนยันธุรกรรมเพียงจำนวนหนึ่งที่เชื่อถือได้

และที่โดดเด่นที่สุดก็คือ… Avalanche Protocol ใช้บล็อกเชน 3 โครงข่ายเพื่อจัดการสมดุล Blockchain Trilemma ให้สามารถทำงานกับธุรกรรมที่ต้องการสมดุลเฉพาะด้านสูงได้ครบทั้งหมด โดยมี… 

  1. X-Chain หรือ Exchange Chain… สำหรับธุรกรรมบล็อกเชนมาตรฐานทั่วไป
  2. C-Chain หรือ Contract Chain… สำหรับพัฒนา dApp และ เขียน Smart Contract โดยสร้างบน EVM หรือ Ethereum Virtual Machine ซึ่งในทางเทคนิคจะทำให้ dApp ที่เขียนขึ้นใช้บน Ethereum ทั้งหมดสามารถรันบน Avalanche C-Chain ได้ทันที
  3. P-Chain หรือ Platform Chain… เพื่อรองรับการสร้าง Node และ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายเองในอนาคต

ส่วน AVAX Coin ซึ่งเป็น Native Token สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียม หรือ Gas Fees ใน Avalanche Chain และยังสามารถใช้เป็น Governance Token ของแพลตฟอร์ม Avalanche ผ่านการ Staking และ ใช้เป็น Validator Staking หรือ ร่วมเป็นผู้ยืนยันธุรกรรมบน Avalanche Chain ด้วย… ซึ่งการวางแบบ Validator Staking ใช้ AVAX Coin เพียง 2,000 AVAX ก็เข้าร่วมกับ Node เพื่อรับผลตอบแทนได้แล้ว… และการ Stake รับผลตอบแทนก็ทำได้ง่ายผ่าน Avalanche Wallet ได้โดยตรง

ในตลาดแลกเปลี่ยน… ราคา AVAX Coin บน CoinMarketCap.com ช่วงหัวค่ำของวันที่ 24 พฤศจิกายน 2021 อยู่ที่ 130.20 USD/AVAX และมีขนาด Market Cap ถึง 29,178.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ… เป็นเหรียญดิจิทัลที่ไต่อันดับเร็วมากที่สุดอีกหนึ่งเหรียญ จนมาอยู่ในอันดับที่ 11 แล้วครับ

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

scalping indicators

Scalping Trader… นักเทรดช่วงสั้น

นักลงทุนแบบ Scalp หรือ Scalping Trader จึงเป็นนักลงทุนที่ต้องใส่ทุนก้อนใหญ่เข้าไปกับหนึ่งออเดอร์ เพื่อให้กำไรต่อทุนที่บางมากกลายเป็นกำไรก้อนใหญ่… ซึ่งในทางเทคนิคไม่ถือว่าความเสี่ยงในการลงทุนน้อยลงแต่อย่างใด… เพียงแต่ข้อดีจริงๆ ของการลงทุนแบบ Scalp Trading จะเป็นความสามารถในการทำกำไรในตลาด Sideway ซึ่งเป็นภาวะที่ตลาดเคลื่อนไหวด้วยกรอบราคาค่อนข้างแคบ

บสย. Scoring… โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และ สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ

4 เมษายน 2023… คุณสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. พร้อมด้วย รศ.ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ หรือ GBDi จาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การส่งเสริมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อยกระดับสู่องค์กรนวัตกรรมระหว่าง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม กับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ

Approved Loan

สินเชื่อเสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย

รัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีมติอนุมัติโครงการสินเชื่อ “เสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย” ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท สนับสนุนให้เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ เข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ โดยมี SME D Bank เป็นหน่วยร่วมทำหน้าที่ดำเนินการวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อตามหลักเกณฑ์ของกองทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง สำรองเป็นค่าใช้จ่าย หรือลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยี สนับสนุนการเติบโต

หุ้นกู้ IRPC บนแอปเป๋าตัง…

ความเคลื่อนไหวของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ซึ่งเตรียมขายหุ้นกู้ และ กรีนบอนด์ รวม 5 รุ่น อายุ 4-12 ปีที่ผู้บริหารของ IRPC เคลื่อนไหวและให้ข่าวอย่างคึกคักมาตั้งแต่เดือนเมษายน… โดยหุ้นกู้ IRPC รอบนี้มีทั้งที่เป็นหุ้นกู้ดิจิทัลแบบ Scripless Bond และ โดยจะเสนอขายผู้ลงทุนทั่วไป และ นักลงทุนรายใหญ่ กับ ผู้ลงทุนสถาบัน โดยจะเปิดจองแก่ผู้ลงทุนทั่วไปผ่านแอปเป๋าตัง ระหว่างวันที่ 17 – 19 พฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นการระดมเงินลงทุนตามกลยุทธ์ และ ชำระคืนหนี้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน โดยได้เครดิตเรทติ้งหุ้นกู้ A-(tha)