ผมกำลังค้นข้อมูล FoodTech Startup และ AgTech Startup ในระบบนิเวศของอาเซียน 10 ประเทศ เพื่อทำข้อมูลอ้างอิงสำหรับปี 2022 ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปีแห่งความท้าทายสำหรับธุรกิจที่มีโอกาสได้ตั๋วรุ่งเรือง พอๆ กับถึงคราวรุ่งริ่ง ที่หลายความคิดเห็นเชื่อว่า… อาจจะพลิกเฉือนกันแค่รอดได้นานที่สุด หรือไม่ก็สมควรอยู่รอดเพราะเตรียมตัวเพื่อรอดในทุกสถานการณ์พลิกผัน และ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างแท้จริง… ซึ่งไม่ง่ายหรอก
ผมเจอข้อมูลแพลตฟอร์มค้าปลีกและค้าส่งอาหารทะเล โดยนักศึกษาจากอินโดนิเซียผู้ต้องการเอาเทคโนโลยีแพลตฟอร์มมาแก้ Pain Point ให้ครอบครัวชาวประมงที่พวกเขาเติบโตมา ซึ่งปัญหาค่าครองชีพและรายได้ของประมงรายย่อยในอินโดนิเซีย ก็มีปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ต่างจากเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปินส์ หรือ ไทย… ที่ประมงรายย่อยต้องยอมรับราคารับซื้อสัตว์น้ำที่แลกมาด้วยหยาดเหงื่อซึ่งถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลาง และต้องออกทะเลเพื่อหาให้ได้มากขึ้นเพียงเพื่อให้ครอบครัวลูกหลานพอกินพอใช้ หรือดีหน่อยก็ได้เรียนหนังสือ
ปี 2016… สามหนุ่มสาวจาก Telkom University ประกอบด้วย Farid Naufal Aslam… Indraka Fadhlillah และ Utari Octavianty ก็เดินเข้าหาประมงพื้นบ้านเพื่อชักชวนพวกเขาให้นำผลผลิตที่หาได้จากท้องน้ำ ส่งตรงถึงผู้บริโภคด้วยแนวคิดที่จะนำผลผลิตของชาวประมงทั่วอินโดนิเซียส่งถึงผู้บริโภคทั่วโลก ด้วยแนวคิด Sea-To-Table…
พวกเขาเปิดแพลตฟอร์ม Aruna ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม eCommerce ทั้งค้าปลีกและค้าส่งพร้อมกลไกการประมูลอาหารทะเลออนไลน์ และทำงานใกล้ชิดกับร้านอาหาร และ ผู้ส่งออกอาหารทะเล กับชาวประมงในอินโดนิเซีย ซึ่งระดมทุนใน Series A ไดมากถึง $35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย Prosus Ventures และ East Ventures Growth Fund เป็นแกนนำ
รายละเอียดกว่านี้ไม่เล่าต่อแล้วน๊ะครับ… ท่านที่สนใจก็มีลิงค์ใต้ References ให้ท่านแล้วเช่นเดิม ส่วนท่านที่สนใจลึกในระดับวิเคราะห์ตัวแปรธุรกิจ… ขอทาง Line ID: dr.thum ช่องทางเดียวครับ
References…