ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันในทุกด้านทุกสาขาถือว่าล้ำหน้า และ ทันสมัยตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งภูมิปัญญาของมนุษยชาติ ที่สะสมหลอมรวมวิทยาการต่างๆ จนกลายเป็นศาสตร์ยุคใหม่ที่ข้ามผ่านข้อจำกัดเดิม รวมทั้งข้อจำกัดตามธรรชาติได้มากมาย
หลายเดือนก่อนผมได้เห็นต้นแบบเครื่องพิมพ์สามมิติ หรือ 3D Printer ที่ออกแบบขึ้นเพื่อทำ “หัวใจเทียม” สำหรับปลูกถ่ายให้มนุษย์ที่ต้องการหัวใจชิ้นใหม่อย่างทันเวลา และ เข้ากันได้กับร่างกายเดิม พร้อมประสิทธิภาพการทำงานเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง
ปี 2019… ธุรกิจ MedTech ชื่อ AMTZ หรือ Andhra Pradesh Medtech Zone ในรัฐ Andhra Pradesh หรือ อานธรประเทศ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ได้จัดเวิร์คชอปโชว์ผลงานการพิมพ์ “หัวใจประดิษฐ์ หรือ Artificial Heart” โดยใช้ Living Tissue หรือ เซลล์เนื้อเยื่อมีชีวิตเป็นวัสดุพิมพ์ และ ตีพิมพ์งานวิจัยลง วารสาร Advanced Science โดยเป็นการพิมพ์หัวใจเหมือนจริงขนาด 2.5 เซนติเมตร หรือ ขนาดเท่ากับหัวใจของกระต่าย แต่มีโครงสร้างของหัวใจที่ใกล้เคียงสัดส่วนของหัวใจจริงๆ ทั้งหมด… ซึ่งถือเป็น Artificial Organ ที่มนุษย์กำลังพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมๆ ของเผ่าพันธ์เราอีกครั้ง
Artificial Organ หรือ อวัยวะประดิษฐ์ดัดแปลงสำหรับสิ่งมีชีวิต ซึ่งถือเป็น “อุปกรณ์ หรือ Device รวมทั้ง เนื้อเยื่อ หรือ Tissue” เพื่อใช้ฝัง หรือ บูรณะอวัยวะร่างกายของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ และ สามารถเชื่อมต่อกับเนื้อเยื่อดั้งเดิมของร่างกายที่พึ่งพากันอยู่ โดยทำหน้าที่ทดแทนอวัยวะดั้งเดิมตามธรรมชาติได้เท่าเดิม หรือ ดีกว่าเดิมอีกด้วย
โดยข้อเท็จจริง… เทคโนโลยีทางการแพทย์มีการใช้อวัยวะเทียมในการ “เปลี่ยนถ่าย” ทดแทนอวัยวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่นการมีชีวิต ซึ่งต้องใช้การปลูกถ่าย เช่น ข้อเข่า กระดูกสะโพก หรือแม้แต่ฟัน… ส่วนอุปกรณ์ หรือ Device ที่ไม่ถือว่าเป็นอวัยวะเทียม แม้จะใช้เพื่อทดแทนการทำงานของอวัยวะที่ฟังก์ชั่นการมีชีวิตอย่างเช่น เครื่องฟอกไต ซึ่งยังขาดกลไกอัตโนมัติทางชีววิทยา แบบที่ไตจริงๆ เคยทำได้โดยไม่ต้องเสียบปลั๊ก เปลี่ยนไส้กรอง และ ทำความสะอาด… ซึ่งเครื่องฟอกไตไม่มีอะไรเข้าข่าย
ประเด็นก็คือ… ในปัจจุบันมีวิทยาการด้าน BME หรือ Biomedical Engineering หรือ Medical Engineering ที่มุ่งเป้าการดูแลภาวะเจ็บป่วยด้วยเทคโนโลยีทางชีววิทยา รวมทั้งบูรณาการเทคโนโลยีอื่นๆ ให้ร่วมทำงานกับเซลล์สิ่งมีชีวิต… ซึ่งถูกคิดค้น และ ศึกษาวิจัยจนนำไปสู่สิทธิบัตรมากมายในปัจจุบัน ในขณะที่การยื่นขอทดลองในมนุษย์ ไปถึงขั้นขออนุญาต FDA นำใช้และวางตลาดก็ปรากฏทั้งคำขอ และ ใบอนุญาตมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน
งานวิจัยทางการตลาดในหัวข้อ Artificial Organ And Bionics Market Size, Share & Trends Analysis Report By Product (Artificial Heart, Liver, Kidney Pancreas, Exoskeleton, Cochlear Implant), By Technology (Mechanical, Electronic), By Region, And Segment Forecasts, 2020 – 2027 จาก Grand View Research ได้พบการเติบโตของตลาดอวัยวะประดิษฐ์ดัดแปลงในสหรัฐอเมริกามีมูลค่าสูงถึง 25.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 และ คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องจนถึงปี 2027 ไม่น้อยกว่า 9.6% ต่อปี… และ ชัดเจนว่าจะมีการขยายตัวของปริมาณความต้องการไปทั่วโลกยิ่งกว่านี้แน่นอน
ส่วนฝั่งสถาบันการศึกษา… Biomedical Engineers หรือ วิศวกรชีวการแพทย์ จะเป็นหลักสูตรที่ต้องพัฒนาคนให้มีทักษะความรู้ทั้งวิศวกรรม และ ชีววิทยาขั้นสูง… ซึ่งในประเทศไทยผมมีข้อมูลจากการค้น Google ที่ยังไม่ได้ยืนยันรายละเอียดแต่พบว่า… มีหลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเปิดหลักสูตร Biomedical Engineers เหมือนกัน
ส่วนโอกาสทางธุรกิจนั้น… Biomedical Engineering ถือเป็น S-Curve ใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ซึ่งชัดเจนว่าอายุขัยของมนุษย์ย่อมจะยืนยาวขึ้น และ เปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของมนุษย์ไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจะต่างจากสมัยปัจจุบันอย่างแน่นอน
References…
- https://www.marketwatch.com/press-release/artificial-organs-market-industry-trends-sizegrowth-growth-insight-share-competitive-analysis-statistics-regional-and-global-industry-forecast-to-2023-2021-09-29
- https://en.wikipedia.org/wiki/Biomedical_engineering
- https://en.wikipedia.org/wiki/Artificial_organ
- https://en.wikipedia.org/wiki/Andhra_Pradesh_Medtech_Zone