ประวัติย่อของสี… และคาดการณ์มูลค่าทางการตลาดสีทาอาคาร

Color

งานวิจัยจาก Statista.com เวบไซต์สถิติที่โลกธุรกิจให้ความเชื่อมั่น ได้ออกรายงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสีทาอาคาร หรือ สีเพื่องานสถาปัตยกรรมเอาไว้ช่วงปลายปี 2019 ว่า… Architectural Coating Market หรือ ตลาดสีทาอาคาร ทั่วโลกมีมูลค่า 65,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018… และพบแนวโน้มมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 82,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2023

มนุษย์เริ่มมีการใช้สีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยผลงานภาพเขียนบนผนังถ้ำ หินผาและเครื่องปั้นต่างๆ พบร่องรอยเก่าแก่กว่า 30,000 ปีมาแล้ว

ในทางเทคนิค… สีมีลักษณะทางเคมีเป็นของผสมแบบ อิมัลชัน หรือ Emulsion ที่ประกอบด้วยของเหลวตั้งแต่ 2 ชนิดผสมแบบไม่เป็นเนื้อเดียวกัน เช่น น้ำกับน้ำมัน ซึ่งต้องการนำมารวมกัน ในลักษณะที่ผสมผสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จึงต้องใช้ Emulsifier เป็นตัวประสานของเหลวทั้งสองเข้าด้วยกัน… ซึ่งของผสมอิมัลชันที่เกิดขึ้น ถ้ามองด้วยตาเปล่า จะเห็นลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้ามองด้วยกล้องจุลทรรศน์ ก็จะเห็นเป็น 2 วัฏภาค คือ เห็นเป็นหยดเล็กๆ ของๆ เหลวชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า วัฏภาคภายใน หรือ Internal or Dispersed Phase กระจายตัวแทรกอยู่ใน ของเหลวอีกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า วัฏภาคภายนอก หรือ External or Continuous Phase

แปลง่ายๆ ว่า… อีมัลชันคือ ของเหลวตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ผสมกันแบบไม่เข้ากันเพื่อใช้งานนั่นเอง… ซึ่ง “สีในงานสถาปัตยกรรม” ถือว่าเป็นของเหลวชนิดอีมัลชันด้วย

อุตสาหกรรมสีเริ่มต้นจริงจังในสหรัฐอเมริกา เมื่อคราวปฏิวัติอุตสาหกรรมจน “สี” ได้รับการยอมรับทางเศรษฐกิจ โดยโรงสีพ่นแห่งแรกในอเมริกาก่อตั้งขึ้นในบอสตันราวปี 1700 โดย Thomas Child… กระทั่งอีกหนึ่งศตวรรษครึ่งต่อมา ในปี 1867 D.R. Averill ได้ยื่นจดสิทธิบัตรสี “พร้อมผสม” เป็นครั้งแรก

หลังจากนั้นอุตสาหกรรมสีในสหรัฐอเมริกา ก็เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ตามเมืองที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่น และยังมีการพัฒนาเครื่องกลขึ้นใช้ในขบวนการผลิต… ถือเป็นยุคของการก่อเกิดผู้ผลิตสีรายเล็กรายน้อยมากมาย อันเนื่องมาจากอุปสรรคในเรื่องการคมนาคมขนส่ง… ผู้ผลิตรายย่อยจึงครองตลาดกระจายทั่วไปจนถึงกลางศตวรรษที่ 1900 หรือหลังสงครามโลกครั้งที่สองหลายปี… อุตสาหกรรมสีจึงมีพัฒนาการตอบรับกระแสสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาส่วนผสมต่างๆ รวมทั้งส่วนผสมที่เป็นพิษเช่น สารตะกั่ว

สภาพโรงงานผลิตสีรายย่อยในยุคปลายศตวรรษ 1800

ปัจจุบัน… สีทาอาคารหรือสีทางสถาปัตยกรรมแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ สีทาภายนอก และ สีทาภายใน และ มีบทบาททางสถาปัตยกรรมสูงเทียบเท่า หรือ ยิ่งกว่า รูปทรงหรือโครงสร้างอาคารเสียอีก

ปัจจุบัน… เราจึงมีสีหลากวัตถุประสงค์และคุณสมบัติให้เลือกใช้งานมากมายเช่น สีรองพื้น หรือ Primer… สีชั้นกลาง หรือ Undercoat… สีทับหน้า หรือ Top Coat… และยังมีสีทับหน้าประเภทใส หรือ Clear Coat หรือ T/C อีกชั้นด้วย

นอกจากนั้น ยังมีสีแบ่งแยกตามประเภทวัสดุ และ การใช้งานเช่น…สีทาซีเมนต์ สีทาคอนกรีต… สีทาไม้ สีทาเหล็ก… สีทาถนน… สีอบ และ สีอบ UV Cure… สีเพื่องานสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ขอบถนน ขอบทาง… และ สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง

ประเด็นก็คือ… การใช้สีมีประโยชน์ต่อวัตถุประสงค์การใช้เสมอ ซึ่งพอสรุปประโยชน์ได้ดังนี้

1. ใช้สีเพื่อปกป้องพื้นผิว เป็นการทาสีเพื่อความเรียบร้อยสวยงาม ปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น

2. ใช้สีเพื่อสุขลักษณะและความสะอาด เช่น ในครัวควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สี Acrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และ ห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น

3. ใช้สีเพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจแล้ว… ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมากๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง

4. ใช้สีเพื่อเป็นสัญลักษณ์และเครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิด จะมีการสื่อ ความหมาย เป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตราย เป็นต้น

5. ใช้สีเพื่อความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือ เรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรง และเห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับงาน ทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้น ให้แนวความคิดใน การออกแบบแสดงออกมา ได้ดียิ่งขึ้น

รายงานการวิเคราะห์ตลาดสี ในหมู่นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ อ้างอิงพื้นฐานหุ้น TOA ระบุว่า… ตลาดสีทาบ้านในไทยในปี พ.ศ. 2559 มีมูลค่า 19,201.3 ล้านบาท และคาดการณ์ว่า… ตลาดปี พ.ศ. 2564 น่าจะเติบโตเป็น 24,603.2 ล้านบาท… ส่วนมูลค่าตลาดกลุ่มสารเคลือบและอื่นๆ คาดการณ์ว่า จะโตจาก 6,376.9 เป็น 8,852.7 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2564

อ้างอิง

Statista.com
Stocklittle.com
Paint.org
Statista.com

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

โครงกานก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบาง

Luang Prabang Hydropower Project… โรงไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง

Luang Prabang Hydropower Project โดยรัฐบาลลาว ภายใต้ความร่วมมือลาว-เวียดนาม ซึ่งมี PetroVietnam Power Corporation จากเวียดนามเข้าร่วมทุนเพื่อพัฒนาและก่อสร้าง โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนลำน้ำโขง ขนาด 1,460 เมกะวัตต์… ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงพระบางขึ้นไปทางตอนเหนือ ราว 25 กิโลเมตร โดยมีรายงานว่า… โครงการความคืบหน้าไปแล้ว 80% โดยมีแผนเริ่มใช้งานเชิงพาณิชย์ในปี 2027 ด้วยเป้าหมาย เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายให้ไทยและเวียดนามเป็นส่วนใหญ่

Arbitrum Network

Arbitrum Network

เทคโนโลยีของ Arbitrum ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้การนำของ Professor Edward W. Felten หรือ Ed Felten ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก Princeton University ผู้บรรยายหัวข้อ Bitcoin and Cryptocurrency Technologies ที่มีคนติดตามมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และ ยังเคยทำงานในทำเนียบขาวในตำแหน่ง Deputy United States Chief Technology Officer หรือ ตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีแห่งสหรัฐอเมริกามาแล้ว…

JLL หนึ่งในผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก

ท่านเคยสงสัยมั๊ยครับว่า… เศรษฐีติดอันดับโลกเขาบริหารและดูแลทรัพย์สินให้งอกเงยอย่างไร โดยเฉพาะการลงทุนและการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ที่ทุกท่านน่าจะมองออกว่า คนเหล่านี้มีภาระกิจและธุรกิจมากมาย ที่ไม่มีเวลามาดูที่ ตรวจบัญชีหรือนั่งอ่านข้อเสนอแนะการลงทุนที่ข้อมูลมีมากมายจนตายแล้วเกิดใหม่สิบรอบก็อาจจะอ่านและศึกษาไม่หมด

LTV… เหนื่อยยาว เผาจริง

เสียงบ่นจากคนขายบ้าน ทุกการพูดคุยที่ผ่านมาตั้งแต่หลังสงกรานต์… คีเวิร์ด LTV กับ เผาจริง เป็นคำที่ผมได้ยินจากทุกการสนทนาเรื่องบ้านและอสังหาริมทรัพย์…