ครั้งหนึ่งเมืองหังโจว หรือ Hangzhou ซึ่งมีประชากรกว่า 7 ล้านคน เคยถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีการจราจรแออัดที่สุดของจีนลำดับที่ 5… แต่ลำดับดังกล่าวคลี่คลายลงไปอยู่ลำดับที่ 57 ในปี 2019… หลังจากนครหังโจว นำเทคโนโลยี AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยบริหารการจราจรภายใต้โครงการ City Brain ซึ่งขับเคลื่อนโดยแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ระดับแถวหน้าของโลก จาก Alibaba Cloud
เวบไซต์ Alibabacloud.com อธิบายถึงเบื้องหลังเทคโนโลยีชั้นสูง หรือ Advanced Technology ในโครงการ City Brain ไว้ว่า… พวกเขาขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงถึง 4 แพลตฟอร์ม ซึ่งทำงานร่วมกันด้วยปัญญาประดิษฐ์ จนสามารถรายงานสภาพการจราจรแบบ Real Time ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งแพลตฟอร์มเทคโนโลยีทั้ง 4 ประกอบไปด้วย
1. การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถชี้นำประสิทธิภาพและต้นทุนการเดินทาง หรือ Big Data Computing Capabilities To Lead Performance and Costs
City Brain ประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาลโดยใช้แพลตฟอร์ม MaxCompute… แพลตฟอร์มประมวลผลข้อมูลของ Alibaba Cloud ซึ่งสร้างสถิติความสามารถในการจัดการข้อมูลขนาด 100 TB ในเวลา 377 วินาที เมื่อปี 2015
2. การประมวลผลขนาดใหญ่และการประมวลผลจากข้อมูลหลายแหล่งแบบ Real Time หรือ Large-scale and Multi-source Data Processing and Real Time Analysis
City Brain มีการบันทึกข้อมูลด้วยแพลตฟอร์มระดับ Exabyte Cloud Storage หรือใช้แพลตฟอร์มที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลระดับ 1073.74 ล้านจิกะไบต์… พร้อมด้วยระบบการประมวลผลระดับ Petabyte หรือ เพตะไบต์ เพื่อประมวลคำขอและการตอบสนองการเข้าถึงข้อมูลแบบ Real Time ระดับมิลลิวินาที
3. การแปลผล Video Real Time พร้อมระบบตรวจสอบอัตโนมัติ หรือ Real-time Video Recognition and Automated Inspection
City Brain ใช้เทคโนโลยีการจดจำภาพ หรือ Image Recognition Technology ผ่านภาพที่ได้จากกล้องวีดิโอจราจรกว่า 3,000 ตัวในนครหังโจวแบบ Real Time… ใช้ข้อมูลภาพจากวิดีโอ 100%… มีความสามารถในการค้นหาภาพยานพาหนะ และ การตรวจจับผ่าน Real Time Video ด้วยความแม่นยำถูกต้องสูงถึง 90.46%
4. สถาปัตยกรรมโครงข่ายสมองกลเรียนรู้เองขั้นรู้ลึกซึ้ง หรือ Deep Neural Network Physical Architecture
City Brain ประมวลผลข้อมูลระดับ Exabyte บนโครงข่ายนับพันล้านโหนด และใช้อัลกอริทึมเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายใต้ในสถานการณ์และเงื่อนไขที่ซับซ้อน… ซึ่ง Algorithm หรือ อัลกอริทึมเหล่านี้สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านความสัมพันธ์ของข้อมูลแม้มีความเกี่ยวพันกันไม่มากและไม่มีความตรงไปตรงมาของข้อมูลก็ตาม
หลังจากทดลองใช้นานกว่า 2 ปี ปรากฏว่า City Brain ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม สามารถลดเวลาในการเดินทางให้กับชาวเมือง และช่วยอำนวยความสะดวกให้รถพยาบาลหรือรถดับเพลิง เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุได้ทันเวลา และชาวเมืองพึงพอใจกับสภาพการจราจรที่ดีขึ้น ใช้เวลาน้อยลงในการเดินทางในระยะเดิม
ปัจจุบันแพลตฟอร์ม City Brain ถูกนำไปขยายผลใช้กับหลายๆ เมืองในจีน รวมทั้งกรุงกังลาลัมเปอร์ของมาเลเซียด้วย
อ้างอิง