เมื่อร่างกายเจ็บป่วยในระดับอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งแพทย์ผู้ทำหน้าที่ตรวจเพื่อรักษาก็จะตรวจซ้ำเพื่อยืนยัน และ ระบุสาเหตุที่ชัดเจนด้วยเครื่องมือแพทย์ และ เครื่องมือทางเทคนิคการแพทย์ ซึ่งแพทย์ระดับเชี่ยวชาญเฉพาะทางก็จะเป็นคนกำหนดว่าจะต้องทดสอบและตรวจสอบแบบไหนอย่างไรด้วยเครื่องมืออะไรบ้าง
เทคนิคและเครื่องมือที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกใช้กันเป็นสามัญมาอย่างยาวนานทั่วโลกก็คือ การถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์ หรือ X-Ray เพื่อถ่ายภาพอวัยวะที่เจ็บป่วย ซึ่งมีความซับซ้อนอยู่ลึกเข้าไปใต้เนื้อใต้หนังจนถึงกระดูกและอวัยวะภายในทั้งหมด… และไม่มีใครมองเห็นด้วยตาเปล่า
X-Ray เป็นเครื่องมือทางเทคนิคการแพทย์ที่มีใช้มาตั้งแต่ใช้ฟิล์มบันทึกภาพ… กระทั่งมาถึงยุคการบันทึกภาพด้วย CCD หรือ Charge-Coupled Device… และ CMOS หรือ Complementary Metal–Oxide–Semiconductor ในยุค Digital Imaging… หรือยุค X-Ray Computer ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้งานภาพดิจิทัลที่ถ่ายด้วยรังสีเอ็กซ์ และ เปิดดูจากคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการถ่ายภาพดิจิทัล นำมาซึ่งการพัฒนาเทคนิคการถ่ายภาพแบบ CT Scan หรือ ซีที สแกน หรือ Computerized Tomography Scan… ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์จะฉายรังสีเอกซเรย์ตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วใช้คอมพิวเตอร์สร้างเป็นภาพสามมิติของลักษณะ และ อวัยวะภายในร่างกาย เพื่อประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติของร่างกายต่อไป โดยวิธีการนี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่า X-Ray ทั่วไป… และสามารถใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน
โดยทั่วไป… ภาวะเจ็บป่วยที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบันส่งทำ CT Scan มักจะใช้ทั้งเพื่อการตรวจวินิจฉัยก่อนวางแผนการรักษา… ติดตามรอยโรคและอาการป่วยจากรอยโรคทั้งในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา… ซึ่งภาพความละเอียดสูงแบบ 3 มิติเหมือนจริงจากการทำ CT Scan ได้รับการยอมรับอย่างสูงในการใช้วินิจฉัยและรักษา
ประเด็นคือ… การทำ CT Scan ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนในหลายขั้นตอนตั้งแต่นักเทคนิคการแพทย์ผู้ทำหน้าที่เป็นช่างภาพใช้เครื่อง CT Scan ก่อนจะส่งภาพให้ผู้เชี่ยวชาญอ่านและแปรผล แล้วค่อยส่งกลับมาให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเจ้าของคำสั่งทำ CT Scan เอาภาพและคำวินิจฉัยภาพไปวางแผนการรักษา
และในยุค AI Enabled Healthcare ซึ่งอุตสาหกรรมทางการแพทย์และการพยาบาลที่เคยมี “คอขวด” การบริการซับซ้อนมาอย่างยาวนาน… ในกรณีของ CT Scan ก็จะเจอคอขวดคิวผู้เชี่ยวชาญในการอ่านและวินิจฉัยภาพ CT Scan… ซึ่งการทำข้อมูลวินิจฉัยให้คนไข้ได้เกินสิบรายในเวลาทำงานราว 8 ชั่วโมงต่อวันก็ถือว่าเก่งมากเก่งมายแล้ว… และเมื่อ AI หรือ Artificial Intelligence ถูกสอนให้วินิจฉัยข้อมูล CT Scan แทนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นเรื่องชัดเจนว่าทุกอย่างจะเร็วขึ้น และ แม่นยำยิ่งๆ ขึ้นอย่างแน่นอน
ช่วงกลางปี 2019 ที่ผ่านมา… ทีมวิศวกรรมชีวภาพ หรือ Bioengineers สถาบัน RPI หรือ Rensselaer Polytechnic Institute ในนคร New York ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาโดย National Institute of Biomedical Imaging and Bioengineering… ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนา Post Processing AI Enable Low-Dose Computed Tomography Scans… ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้ AI กำหนดปริมาณรังสีเอ็กซ์ระดับต่ำในการทำ CT Scan ซึ่งช่วยลดผลข้างเคียงจากรังสีเกินความจำเป็นในการถ่ายภาพ แต่ได้คุณภาพของภาพชัดเจนต่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ… ซึ่งแปลซ้ำได้ว่า ทีมวิจัยและพัฒนาจากสถาบัน RPI ได้พัฒนา AI Enabled CT Scanner ขั้นสามารถวินิจฉัยแบบ Realtime ได้แล้ว… และแปลซ้ำได้ว่า การทำ CT Scan สามารถรู้ผลทันทีนั่นเอง

Credit image: Artificial intelligence enables high quality CT scans with reduced radiation
กรณี AI Enabled CT Scanner ถือเป็นเพียงเครื่องมือแพทย์ยุค AI Enabled เพียงชิ้นเดียวในมิติของวิทยาศาสตร์สุขภาพยุคใหม่… ซึ่งเครื่องมือช่วยวินิจฉัยการเจ็บป่วยเพื่อวางแผนรักษาทุกชนิด กำลังถูกพัฒนาขึ้นใหม่โดยอ้างอิงเทคโนโลยี และ ข้อมูลมากมายที่กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมการแพทย์ไปตลอดกาล
ท่านที่สนใจเทคโนโลยีฝั่ง HealthTech ทั้งในระดับค้นคว้าวิจัย และ ในระดับประกอบธุรกิจ… โดยเฉพาะ HealthTech Startup ตั้งแต่โมเดลบริการไปจนถึง Healthcare DeepTech… อย่าลืม Ad Line ด้วย QR Code ท้ายบทความนี้เป็นเพื่อนกันไว้ จะได้ไม่พลาดข้อมูลที่ผมรวบรวมไว้ไม่น้อยจนกล้าเอามาแบ่งปัน
ขอบคุณที่ติดตามครับ!
References…