AgTech IoTs… หัวใจของ Smart Farming

IoTs Smart Farming

คำว่า Smart Farming ดูเหมือนจะเป็นคำกลางๆ จนบอกอะไรไม่ได้มากนักในนิยาม นอกจากฟังดูว่า น่าจะมีเทคโนโลยีอะไรซักอย่าง อยู่ในฟาร์มหรือโครงการเกษตรที่กล้าเรียกว่า Smart Farming… ผมเคยเห็นเอกสารโครงการฟาร์มไส้เดือนที่เรียกตัวเองว่า Angleworm Smart Farm ที่ปักเซนเซอร์วัดความชื้นในดิน กับเซนเซอร์วัดอุณหภูมิบันทึกข้อมูลด้วยดินสอ ก่อนจะเอามาใส่ Excel อีกที… และสปริงเกอร์รดน้ำ ควบคุมด้วยปั๊มน้ำ DC ต่อกับ Timer Switch โดยมีแบตเตอรี่และโซล่าเซลล์เป็นแหล่งจ่ายไฟ

กรณีของ Angleworm Smart Farm ที่เลี้ยงไส้เดือนขายดินปลูกและอาหารปลา ต้องใช้เซนเซอร์เก็บข้อมูลแปลงเลี้ยงไส้เดือนเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด วัดผลผลิตด้วยปริมาณและยอดขายว่าทำรายได้ให้แค่ไหน… ซึ่งการเดินจดค่าความชื้นและอุณหภูมิ ด้วยการถือเครื่องวัดความชื้นกับเทอร์โมมิเตอร์เดินไปตามแปลงไส้เดือนทุกแปลง แล้วปักเครื่องมือวัดและบันทึกข้อมูลทีละแปลงทุกวันเช้าบ่ายวันละสองรอบ ไม่ใช่เรื่องน่าสนุกถ้าคิดว่าแต่ละรอบใช้เวลา 1 ชั่วโมงก็เท่ากับว่า หนึ่งปีจะต้องใช้เวลาถึง 730 ชั่วโมงไปกับงานวัดจดความชื้นและอุณหภูมิ ถ้าเวลาทำงานคือวันละ 8 ชั่วโมง ก็แปลว่า หน้างานวัดจดความชื้นและอุณหภูมิกินเวลาไป 91 วันในหนึ่งปี… นั่นหนึ่งไตรมาสเต็มๆ ไม่มีหยุดเสาร์อาทิตย์อีกต่างหาก

เมื่อใช้ค่าจ้างแรงงานที่ฐาน 300 บาทต่อวัน แปลว่า Angleworm Smart Farm รายนี้ยังต้องใช้เงินปีละ 27,300 บาทไปกับการวัดจดค่าความชื้นและอุณหภูมิ ก็เลยต้อง Upgrade งานวัดจดความชื้นเสียใหม่ ด้วยการลงทุนกับ เซนเซอร์วัดความชื้นและเทอร์โมมิเตอร์ที่ส่งข้อมูลผ่านสัญญาณ Wifi ในฟาร์ม บันทึกลงฐานข้อมูลไปเลย… ฟาร์มไส้เดือนเจ้านี้ก็สมาร์ทขึ้นไปอีกงานหนึ่งแล้ว

แต่ในโลกของความจริงก็ยังมีมิติอื่นๆ ให้ Smart ได้อีกหลายอย่าง… เพราะในความเป็นจริงแล้ว ฟาร์มกับโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันทำหน้าที่ไม่ต่างกันในข้อเท็จจริงคือ… ผลิตสินค้า!

การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในแวดวงเกษตรกรรม จึงไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากการใช้เทคโนโลยีในขบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมเลย นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ การศึกษาค้นคว้าแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้ภาคการเกษตร สามารถผลิตสินค้าได้ด้วยประสิทธิภาพเท่าเทียมโรงงานอุตสาหกรรม

ผมมีงานวิจัยเรื่อง Internet-of-Things (IoT)-Based Smart Agriculture: Toward Making the Fields Talk โดยนักวิจัยจาก University of Tabuk มหาวิทยาลัยแห่งเมืองทาบุ๊ค ทางตอนเหนือของซาอุดิอารเบีย ซึ่งนักวิจัยนวัตกรรมทางการเกษตรจากตะวันออกกลางทุกประเทศ ล้วนต้องใช้ความพยายามอย่างมาก ในการแก้ปัญหามากมายที่สองปัจจัยใหญ่ของการทำเกษตรกรรมอย่าง “น้ำและดิน” ไม่ได้เอื้อให้แผ่นดินตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ได้ง่ายๆ

แปลว่าการทำเกษตรกรรมในตะวันออกกลางต้อง “สร้างและเอาชนะสภาพแวดล้อม” ที่มนุษย์ต้องประดิษฐ์และควบคุมหลายประเด็นเพื่อเลียนแบบธรรมชาติ และหลายประเด็นเพื่อเอาชนะและท้าทายธรรมชาติ

Key Drivers of Technology in Agriculture Industry

นักวิจัยทีมนี้เริ่มต้นงานวิจัยด้วยการถอด AgTech Key Drivers หรือกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farm ออกมาก่อน เพื่อให้เห็นภาพรวมของระบบนิเวศน์ของคำว่า Smart Farming อย่างที่ผมเรียนไว้ตอนต้น… ซึ่งพวกเขาถอด Key Drivers ออกมาได้ 4 ด้าน และทั้ง 4 ด้านล้วนมีแนวทางของการพัฒนาไปสู่เกษตรอัจฉริยะได้หมด โดยมีอุปกรณ์ IoTs เป็นเครื่องมือสำคัญของการขับเคลื่อน ได้แก่

1. Automation หรือด้านระบบอัตโนมัติ

ซึ่ง Automation ในมิติของการทำเกษตรกรรมก็ไม่ได้ต่างจาก Automation ในมิติทางอุตสาหกรรมเลยแม้แต่นิดเดียวคือ อะไรที่ทดแทนแรงงานและทักษะมนุษย์แบบ ที่ยังทำงานซ้ำๆ ทั้งหมด ก็หาทางปรับให้เป็นอัตโนมัติเพื่อดึงคนออกจากภาระงานซ้ำซากและปล่อยให้เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ทำแทน

Key Driver ด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ใน Smart Farming ต้องการเซนเซอร์มากมายร่วมประมวลผลโดยตรง การคิดจะทำ Smart Farming ด้วย Automation Key Driven ย่อมต้องพึ่งอุปกรณ์ IoTs ไม่น้อยในแต่ละฟาร์ม… ซึ่งระบบอัตโนมัตเหล่านี้ ทดแทนแรงงานมนุษย์และทักษะจากแรงงานมนุษย์ได้ค่อนข้างดี และเห็นผลชัดเจน

2. Climate Effects หรือด้านภูมิอากาศ

ส่วนนี้เป็นมิติของการปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการทำเกษตรกรรมตามวัตถุประสงค์ ซึ่งปรับแต่งสภาพแวดล้อมเพื่ออิงผลผลิต และหลายกรณีอาจจะต้อง “เปลี่ยนธรรมชาติ” เพื่อให้ได้ผลผลิตในหลายๆ มิติ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปรับแต่งอย่างเหมาะสม

Key Driver เรื่องภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม ทั้งความชื้น แสงแดดและอุณภูมิ… ทั้งหมดต้องการเครื่องมือวัดที่ไม่สร้างภาระงานให้มนุษย์ ซึ่งทั้งหมดต้องพึ่งเครื่องมือวัดแนวทาง IoTs ทั้งหมดเช่นกัน

3. Resource Optimization หรือด้านการบริหารทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต

โดย Smart Farming แนวทางนี้จะมุ่งไปที่การแก้ปัญหาทรัพยากรในการทำการเกษตร ตั้งแต่พื้นที่ ดิน น้ำ ปุ๋ยและเคมีการเกษตรมิติต่างๆ อันเป็นปัจจัยการผลิต ให้สามารถปลูกผักได้ผักดีที่สุด หรือเลี้ยงไส้เดือนก็ได้เนื้อไส้เดือนทำอาหารปลาดีที่สุด แถมได้ดินไส้เดือนใส่ถุงขายได้อีก

ประเด็นของการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ ในแนวทางบริหารปัจจัยการผลิต ทั้งหมดมักจะเชื่อมโยงกับ Automation Driven ที่คำถามเรื่องต้องใช้อุปกรณ์ IoTs หรือไม่แค่ไหนอย่างไรคงไม่ต้องถาม

Wireless Underground IoT: Precision Soil Monitoring
Wireless Underground Sensors

4. Higher Yields หรือด้านผลตอบแทนสูงสุด

การพัฒนา Smart Farm ด้านนี้จะพัฒนาโดยเอาธุรกิจและการตลาดเป็นศูนย์กลาง โดยมีประเด็นทางการตลาด และเงินลงทุนเป็นแนวทางสำคัญในกลไกการตัดสินใจต่างๆ

Yield Driven ดูเหมือนจะเป็นแนวทางเดียวที่ IoTs อาจจะไม่สำคัญมากเท่า Data หรือข้อมูล ซึ่งก็เป็น Smart อีกสายหนึ่งที่กลิ่นอายของธุรกิจ จะเกาะติดเข้ามาเจือปนมากกว่ากลิ่นปุ๋ยหรือไอแดด

ประเด็นเรื่อง IoTs และ Smart Farming ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกันแทบจะแยกไม่ออก… แต่การปรับ Culture Farming หรือเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษถ่ายทอดส่งต่อกันมา เพื่อให้เป็น Smart Farming อย่างที่หลายๆ ท่านพยายามกันอยู่… ซึ่งสับสนระหว่างการใช้เครื่องจักร ทดแทนแรงงานคนและสัตว์ กับการใช้กลไกอัตโนมัติช่วยทำงาน หรือช่วยตัดสินใจ โดยความแตกต่างของการใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงาน หลายกรณีไม่ได้ทำให้ต้นทุนการดำเนินการลดลง เพียงแต่สะดวกสบายมากขึ้น… ในขณะที่การใช้ IoTs และระบบอัตโนมัติ ส่วนใหญ่จะสามารถลดต้นทุน หรือเพิ่มผลผลิต ที่เห็นชัดเจนบนตัวเลข ROI หรือ Return on Investment เหมือนกรณี 91 วันต่อปีของฟาร์มไส้เดือน เมื่อขึ้นรอบบัญชีปีต่อมาจะมีต้นทุนส่วนนี้เป็นศูนย์ หรือไม่ก็จะสะท้อนผ่านประสิทธิภาพในการจัดการภายในฟาร์ม ที่สามารถเอาเวลาทำงาน 91 วันไปสร้างอะไรเพิ่มเติมได้อีกมาก

ท่านที่มีฟาร์มและนิยามว่าเป็น Smart Farming และเป็น Smart Farmer… กลับไปสำรวจดูก่อนน๊ะครับว่า ในฟาร์มของท่านมีอุปกรณ์ IoTs หรือเซนต์เซอร์อยู่กี่ตัว… รถไถบังคับวิทยุไม่นับครับ!!!

อ้างอิง

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Traffy Fondue

Traffy Fondue… แพลตฟอร์มแจ้งร้องฟ้องให้ช่วย

Traffy Fondue เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับรับแจ้งปัญหา หรือ แจ้งข้อเสนอแนะ พร้อมระบบสนับสนุนการบริหารจัดการปัญหาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยผู้แจ้งไม่จำเป็นต้องรู้จักกับเจ้าหน้าที่ หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบปัญหามาก่อน ก็สามารถแจ้งปัญหาเข้าไปในระบบได้

Connected Commerce…

การทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้โมเดล B2C หรือ Business to Consumer ที่สินค้าหรือบริการต่อตรงเข้าหาลูกค้านั้น การขยายช่องทางสำหรับเข้าถึงลูกค้าทั้งการมีหน้าร้าน สาขา และ E-Commerce มาสู่การเพิ่มช่องทางใหม่ๆ เช่น Mobile Application Chat Kiosk และอื่นๆ เพื่อให้เกิดโอกาสในการปิดการขายมากยิ่งขึ้น และตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เริ่มมีการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาทดแทนการซื้อสินค้าหรือบริการแบบเดิมๆ ในสถานที่จริง ซึ่ง

Solar Farm

Solar Farm การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ EEC

การพัฒนาและลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับภาคเอกชนในประเทศไทย แบบผสมผสาน ร่วมกับการทำการเกษตรในพื้นที่เดิมตามสัดส่วนที่เหมาะสม โดยในระยะแรก การพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีขนาดไม่น้อยกว่า 500 เมกะวัตต์ มูลค่าเงินลงทุนโครงการประมาณ 23,000 ล้านบาท

Andrew Carnegie

Ninety Percent of All Millionaires Become So Through Owning Real Estate… Andrew Carnegie

Andrew Carnegie เป็นมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่บั้นปลายชีวิตได้บริจาคทรัพย์สินมากมายเพื่อสาธารณะประโยชน์หลากหลาย ตั้งแต่ห้องสมุด โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดาและอีกหลายประเทศ