Agrivoltaic… เกษตรกรผู้ขายไฟฟ้า

เทคนิคการผลิตไฟฟ้าที่ร้อนแรงที่สุดในปัจจุบันอย่างโซลาร์เซลล์ ซึ่งร้อนแรงถึงขั้นมีแนวคิดในการนำใช้ในเชิงบูรณาการตั้งแต่ใช้บนพื้นโลกจนถึงห้วงอวกาศ โดยเทคโนโลยี Photovoltaic ที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์โซลาร์เซลล์แบบต่างๆ กำลังนำทางมนุษยชาติให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นไม่ต่างจากเมื่อครั้งมนุษย์ยุคหินรู้จักใช้ไฟและปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ หรือในยุคที่คนรุ่นก่อนรู้จักใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและพัฒนาเทคโนโลยีด้วยฐานพลังงานฟอสซิล… และเมื่อถึงยุคการของการใช้แดดและแสงจากดวงอาทิตย์เป็นหลักมาถึง ก็คงได้เห็นการวิวัฒน์เทคโนโลยีอีกมากจากแหล่งพลังงานนี้

แนวคิดล่าสุดเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์ที่มุ่งบูรณาการบนพื้นที่เกษตรกรรมภายใต้แนวคิด Agrivoltaic หรือ APV อันเป็นแนวคิดการแบ่งใช้พื้นที่เกษตรกรรมมาผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ขายพลังงานเข้าระบบ… โดยแผงโซลาร์จะถูกติดตั้งสูงกว่าโซลาร์ฟาร์มผิวดินทั่วไป เพื่อให้มีความสูงเพียงพอที่เกษตรกรจะสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร รวมทั้งการใช้เครื่องจักรทางการเกษตรใต้โครงสร้างที่ใช้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้… ทั้งนี้… ร่มเงาจาก APV จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องปริมาณแสงและความร้อนในแปลงปลูก และ ลดปริมาณการระเหยของน้ำได้ด้วย ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำในการเพาะปลูกลดลง

บทความโดยคุณพิมใจ ฮุนตระกูล จาก SCB EIC ชี้ว่า… แนวคิด APV เป็นแนวคิดแบบ Tradeoff ระหว่าง “ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร และ ปริมาณการผลิตไฟฟ้า” แน่นอนว่าการใช้ APV จะส่งผลให้พื้นที่ในการเพาะปลูกลดลง และ ในบางฤดูหรือช่วงเวลาพืชอาจไม่ได้รับแสงในปริมาณที่ต้องการก็ได้… ในทางกลับกันการผลิตไฟฟ้าในระบบ APV ก็จะไม่สามารถผลิตได้มากเท่าโซลาร์ฟาร์มเต็มพื้นที่ ดังนั้น การออกแบบ APV จึงเป็นการหาสมดุลระหว่างผลผลิตทางการเกษตรและการผลิตไฟฟ้า ซึ่งการออกแบบระบบนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกรเจ้าของพื้นที่ เช่น ลดการใช้น้ำ ปกป้องพืชจากจากสภาพอากาศที่รุนแรง เช่น ความร้อน พายุ ลูกเห็บ หรือ ปริมาณการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

ส่วนที่น่าสนใจที่สุดในโมเดล APV ก็คือ… โมเดลเกษตร APV หรือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในฟาร์มที่ต้องการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้มีรายได้หลายทางคล้ายๆ โมเดล “โคกหนองนา หรือ เกษตรทฤษฎีใหม่” อันเป็นพระบรมราโชบายทางการเกษตรที่ล้นเกล้ารัชกาลก่อน ได้ทรงงานพระราชทานไว้เป็นมรดก ที่มุ่งผสมผสานผลผลิตและแหล่งรายได้จากพื้นที่ทำการเกษตรหลายๆ ทางให้ยั่งยืน… เพียงแต่ APV ใส่โซลาร์ฟาร์มลงไปในพื้นที่ทำการเกษตรเพื่อขายกระแสไฟฟ้าเมื่อแดดออกเท่านั้นเอง

ตัวรายละเอียดทางเทคนิคไม่ได้มีอะไรซับซ้อนต้องอธิบายหรอกครับ… แต่ถ้าสนใจแต่ติดขัดเรื่องการลงทุน และ โมเดลธุรกิจ… ทักไลน์ส่วนตัวผมได้ที่ ID: dr.thum ครับ

References…

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

AgTech IoT… ยุคของการเพาะปลูกในร่มมาถึงแล้ว

กลางสัปดาห์ที่แล้วผมเจอคำถามที่น่าสนใจ จากบทความที่เผยแพร่บน Foundersguide.com ใช้คำถามเปิดหัวข้อว่า “Could The Future of Farming Be Indoors?”… ซึ่งหลายท่านจะทราบว่าผมสนใจ AgTech มานานและกระแสหลายอย่างชี้ชัดว่า… ปี 2020 จะเป็นปีทองของ AgTech StartUp ที่การทำเกษตรจะเปลี่ยนนิยามไปเป็นการผลิตอาหารอย่างยืดยุ่นและยั่งยืนกว่าที่เคยเป็นมา

ข้อมูล GDP ไตรมาส 3 เติบโต 4.5% จากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คุณดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ได้เปิดเผยตัวเลขภาวะเศรษฐกิจไทย ประจำไตรมาส 3/2565 โดยพบว่า… ขยายตัวอยู่ที่ 4.5 % เร่งขึ้นจาก 2.3 % และ 2.5% ในไตรมาสแรก และ ไตรมาส 2 ตามลำดับ… ในขณะที่ภาคการส่งออกสินค้าขยายตัว 6.7% การบริโภคเอกชนขยายตัว 9% ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 5.8% และ อัตราเงินเฟ้อขยายตัว 7.3%

Bond Connect

ตราสารหนี้จีน…

เงินลงทุนที่ Risk-On ในช่วงกลางปี 2021 ก็ยังเคลื่อนไหวแบบชิมลาง จากมูลค่ารวมที่ไม่ได้มากมายจนน่าตื่นเต้นอะไรนัก เพียงแต่เป็นความคึกคักเมื่อเทียบกับช่วงซบเซาที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ตลาดทุนเท่านั้น เพราะยังไงๆ ตลาดหุ้นก็ยังเสี่ยงสูง ในขณะที่ตลาดพันธบัติก็ให้ผลตอบแทนน้อยนิด… ส่วนตลาดคริปโตก็กำลังเจอมรสุมปลายดอย และ การรุกกลับของธนาคารกลางแทบจะทั่วโลก ที่ไม่สามารถปล่อยให้คริปโตไร้สัญชาติเติบใหญ่กว่านี้ได้… แถมด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ก่อตัวเข้มข้นทั่วโลกพร้อมกัน ไปยืนรอการเดินเครื่องจักรทางเศรษฐกิจหลังวิกฤตอยู่ก่อนแล้ว… นักลงทุนที่เข้าโหมด Risk-On ไปแล้วจึงมองหาตลาด และ โอกาสที่ยังแวววาวอยู่ในตอนนี้… ซึ่งก็คือตลาดตราสารหนี้ของจีน

Ocean Protocol… แพลตฟอร์มแปลงข้อมูลเป็นคริปโตเพื่อการซื้อขายและให้เช่าข้อมูล

OCEAN หรือ Ocean Protocol เป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนที่สร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนข้อมูล หรือ Data ให้เป็นโทเคนดิจิทัล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถซื้อขายข้อมูลกันได้บน Ocean Market ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ต้องการข้อมูลเฉพาะทางที่มีการซื้อขายกันทั้งข้อมูลดิบ และ ข้อมูลวิเคราะห์ หรือ รายงานการวิจัยต่างๆ ซึ่งเป็นตลาดข้อมูลที่มีมูลค่าและสภาพคล่องสูงอย่างมากมายาวนาน… โดยนักธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และ สถาบันหรือองค์กรหลักๆ ที่ต้องขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยข้อมูลในยุค Data Driven