Aging Economy for Real Estate

Aging Economy

ถึงวันนี้ ประเด็นสังคมผู้สูงอายุน่าจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่รับรู้และเข้าใจแทบทุกมิติแล้วว่า… ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีช่องว่างของโอกาสมากมายรอการเติมเต็ม… ฝั่งอสังหาริมทรัพย์เอง ก็มีทั้งโจทย์และการบ้านหลายอย่างที่รอคำตอบเด็ดๆ จากโจทย์เดิมๆ และความท้าทายใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

การเป็นผู้สูงอายุ… คือความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่เลี่ยงและหลีกไม่ได้สำหรับทุกคน… และโดยธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง ย่อมนำมาซึ่งโอกาสหลายๆ อย่าง ที่ต้องการใครสักคนเข้าไปดูแลการเปลี่ยนผ่านนั้น

ข้อมูลจากงานวิจัยทั่วโลกระบุว่า… ที่อยู่อาศัยเป็นแผนสำคัญแผนหนึ่งของผู้คนทั่วโลก เมื่อต้องเกษียณและกลายเป็นผู้สูงวัย

คำถามคือ… ตรงนี้ให้โอกาสของวงการอสังหาริมทรัพย์หรือไม่?

รายงานจาก EIC ธนาคารไทยพาณิชย์เรื่อง ผ่ากลยุทธ์ธุรกิจพิชิตวัยเกษียณได้รายงานว่า… ประเด็นที่ภาคธุรกิจต้องจับตามองคือ ผลกระทบที่มาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณและเตรียมพร้อมเพื่อเป็นคนชรา… คนวัยนี้จะปรับเปลี่ยนหลายอย่าง โดยเฉพาะ 3 ด้านหลักๆ ประกอบด้วย

1. พฤติกรรมการใช้จ่ายของเปลี่ยนแปลงไป
2. พฤติกรรมการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์เปลี่ยนแปลงไป
3. พฤติกรรมการออมและการลงทุนเปลี่ยนแปลงไป

ประเด็นที่ปรับเปลี่ยนอย่างน่าสนใจประกอบด้วย… ผู้สูงอายุจะมีการใช้จ่ายลดลง แต่จะเน้นให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยมากขึ้น… จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า การใช้จ่ายทั่วไปของผู้สูงอายุจะลดลงราว 30%… แต่ในกลุ่มที่มีรายได้สูง ยังมีแนวโน้มที่จะรักษาระดับคุณภาพชีวิตในการใช้จ่ายใกล้เคียงระดับเดิม 

ตัวเลขจากงานวิจัยพบว่า… ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุมีการใช้จ่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยลดลงถึงราว 30% เฉลี่ยมาอยู่ที่ราว 3,617 บาทต่อคนต่อเดือน… แต่ผู้สูงอายุจากครอบครัวที่มีรายได้ต่อครัวเรือนสูงกว่า 100,000 บาทต่อเดือน… ยังมีการใช้จ่ายใกล้เคียงระดับเดิม โดยจ่ายลดลงเพียง 14% จากค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ลดลงเป็นหลัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้สูงยังคงเป็นกลุ่มที่ภาคธุรกิจต้องให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและยังมีแนวโน้มจับจ่ายใช้สอยสูงเพื่อคงระดับคุณภาพชีวิตให้ใกล้เคียงกับในช่วงก่อนวัยเกษียณ

เมื่อโฟกัสเข้ามาดูรายจ่ายตามหมวดหมู่ก็พบว่า… ผู้สูงอายุใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น… และผู้สูงอายุยังมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัย

ข้อมูลภาพรวมโครงสร้างการใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า… แม้ผู้สูงอายุจะบริโภคอาหารลดลง 19% แต่สัดส่วนการใช้จ่ายหลักยังมาจากอาหารถึงราวครึ่งหนึ่งของการใช้จ่ายทั้งหมด 

ขณะเดียวกัน ก็มีการใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลมากขึ้นราว 30% เช่นกัน… ส่วนการวิเคราะห์ถึงการใช้จ่ายของครัวเรือนที่มีรายได้สูงพบว่า ผู้สูงอายุที่มีรายได้สูง จะมีการใช้จ่ายสินค้าเกี่ยวกับการปรับปรุงซ่อมแซมและตกแต่งที่อยู่อาศัยมากขึ้น โดยเพิ่มการใช้จ่ายขึ้น 9% เทียบกับครัวเรือนโดยรวม…

สอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริโภคหลังเกษียณของอีไอซี ซึ่งผู้บริโภคถึงราว 80% เห็นด้วยกับการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่ออำนวยความสะดวกในยามเกษียณ ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้สูงอายุในปัจจุบันส่วนใหญ่ ยังคงต้องการอาศัยอยู่ในบ้านเดิมภายหลังจากเกษียณ ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจที่พบว่า… ราว 90% ของผู้สูงอายุยังคงอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมหลังจากเกษียณอายุ 

การใช้จ่ายอีกหมวดที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุคือ การใช้จ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย อย่างเช่นการจ้างคนดูแลบ้านที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ… จากข้อมูลการใช้จ่ายของครัวเรือนพบว่า ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุมีค่าใช้จ่ายในส่วนของการจ้างคนดูแลบ้านเพิ่มขึ้นมาถึงราว 60% เทียบกับครัวเรือนโดยรวม สะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายและสอดรับกับแนวโน้มการอยู่อาศัยคนเดียวมากขึ้น… 

ข้อมูลแนวโน้มพฤติกรรมการใช้จ่ายที่หันมาให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยมากขึ้นของกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าว จึงน่าจะเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอาทิ ธุรกิจค้าปลีกสินค้าเกี่ยวกับบ้าน ธุรกิจรับซ่อมแซม ตกแต่งปรับปรุงที่อยู่อาศัย รวมถึงธุรกิจให้บริการดูแลที่อยู่อาศัยที่จะต้องเตรียมนำเสนอและออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงบริการให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

ข้อมูลส่วนใหญ่ผมตัดมาจากบทวิเคราะห์ของ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ที่อ้างถึง… ซึ่งเป็นบทวิเคราะห์ที่ใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นแกน…

ที่จริงก็ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่จากข้อมูลหรือบทวิเคราะห์หรอกครับ… แต่ตัดข้อมูลส่วนนี้มาย้ำว่า… ผู้สูงอายุไม่ได้มีแนวโน้มจะย้ายบ้านหรือหาที่อยู่อาศัยใหม่ถ้ายังต่อเติมซ่อมแซมบ้านหลังเดิมได้อยู่… ซึ่ง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ย่อมยืนยันยอดขายโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อผู้สูงอายุหลายโครงการ ต้องบิดโมเดลธุรกิจไปจากเดิมกันแทบทั้งหมด… ในขณะที่แนวคิดการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบ InterGeneration ที่จะกลับมาเป็นที่อยู่อาศัยแบบครอบครัวใหญ่ที่มี 3 ช่วงวัยอย่างน้อยอยู่ร่วมกัน… กลับได้รับความสนใจมากขึ้น… ส่วนคนโสดและกลุ่มไร้ทายาท ก็เริ่มหันหาเทคโนโลยีหรือจับคู่กับเพื่อนหรือญาติ เพื่อดูแลกันแบบมีระยะห่างเรื่องส่วนตัวเหมือนเดิมมากขึ้น…

ที่จริงผมกำลังสนใจทำ Focus Group กลุ่มตัวอย่างนี้กับคำถามประเด็นทำนองนี้อยู่เช่นกัน… ยังมี Insight หลายประเด็นคาใจที่ผมยังหาคำตอบไม่ได้… ที่ไหนกำลังสนใจเหมือนกันชวนผมด้วยครับ…

อ้างอิง

ScbEic.com

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

ZeroAvia

ZeroAvia… เครื่องบินพลังไฮโดรเจน

Valery Miftakhov ก่อตั้ง ZeroAvia ขึ้นในปี 2017 และ ทดสอบการบินด้วยความสำเร็จอย่างสวยงามในปี 1019 ก่อนจะติดตั้งชุดขับเคลื่อน ZA250 Hydrogen–Electric Powertrain กับเครื่องบินโดยสรขนาดเล็ก Piper Malibu ขนาด 6 ที่นั่ง และ ประสบความสำเร็จในการบินทดสอบและได้เงินสนับสนุนจาก Aerospace Technology Institute โดยรัฐบาลอังกฤษเพื่อทำโครงการต่อเป็นเงิน 12.3 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงช่วงปลายปี 2020

Square Roots

Square Roots… เรื่องเล่าจากคนปลูกผักในสถานการณ์ Michigan’s Stay Home, Stay Safe!

โมเดลธุรกิจแบบ Square Roots จะดึงดูดคนหนุ่มสาวให้กลับมาปลูกผักและพัฒนาสินค้าเกษตร ที่ไม่ต้องผจญกับภัยธรรมชาติ ศัตรูพืชหรือแม้แต่ความพยายามในการเป็นเจ้าของที่ดินแปลงใหญ่เพื่อปลูกพืชให้ได้มากๆ จนพอเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว… แต่ Square Roots ทำให้การเพาะปลูกง่ายกว่านั้นมาก… ผักที่ปลูกต้องการธาตุอาหารแค่ไหนก็ให้ตามนั้น ต้องการความชื้นเพื่อการเติบโตแค่ไหนก็ให้แค่นั้น ต้องการแสงช่วงความถี่ไหนก็จัดให้ตามนั้น ต้องการอุณหภูมิเท่าไหรก็จัดให้ได้อย่างแม่นยำ… ซึ่งไอเดียรางปลูกแนวตั้ง ก็สามารถใช้พื้นที่ภายในโรงเรือนซึ่งก็คือตู้คอนเทนเนอร์เต็มพื้นที่… แถมผลผลิตยังคาดหวังได้โดยธรรมชาติและภูมิอากาศภายนอกก็ไม่มีผลกระทบใดๆ

machine learning in drug development

AI Vision… วิสัยทัศน์อันจำเป็นและเร่งด่วน

เอกสาร Artificial Intelligence Index Report 2021 ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 4 โดย Stanford’s Institute for Human-Centered Artificial Intelligence หรือ สถาบัน HAI ได้รายงานการลงทุนและความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้วิทยาการปัญญาประดิษฐ์เอาไว้อย่างน่าสนใจหลายประเด็น

Sygnum Bank

Sygnum Bank AG เปิดตัวบริการ Ethereum Staking เป็นธนาคารแรกของโลก

Sygnum Bank เป็นธนาคารที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้แนวคิด Digital Asset Bank and Digital Asset Specialist ในนครซูริค หรือ Zürich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ ในสิงคโปร์ โดยได้รับ Capital Markets Services Licence หรือ ใบอนุญาตบริการตลาดทุนจาก Monetary Authority of Singapore หรือ ธนาคารกลางสิงคโปร์… และ ได้ใบอนุญาต Banking and Securities Dealer Licence จาก Swiss Financial Market Supervisory Authority หรือ FINMA