การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก หรือ Active Learning ซึ่งแกนหลักด้านการศึกษาของประเทศไทยอย่างกระทรวงศึกษาธิการ กำลังผลักดันคีย์เวิร์ดและยุทธศาสตร์นี้เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ EdTech หรือ Education Technolology ที่ได้พลังจากดิจิทัลทั้ง Contents และ Communication Channel จนโลกการศึกษาแบบเก่าก่อนต้องเลือกว่าจะยอมหมดอายุและถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หรือปรับตัวเพื่อขี่กระแสดิจิทัลไปพร้อมๆ กับความก้าวหน้าของปัจจุบันและอนาคต
เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา… กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน หรือ วนส. ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย ระหว่างวันที่ 15-19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดกระบวนการจัดการเรียนรู้ Active Learning ของภาคีเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จ… สังเคราะห์การดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จของโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย และ พัฒนากิจกรรมและนวัตกรรมการเรียนรู้ Active Learning ด้วยฐานการวิจัยแบบมีส่วนร่วม
ประเด็นที่ผมสนใจข่าวและความเคลื่อนไหวนี้ถึงขั้นเอามาเผนแพร่ต่อก็คือ… แนวทาง Active Learning เป็นความหวังและฐานขับเคลื่อนคุณภาพและนวัตกรรมการศึกษา ภายใต้ความพยายามของหลายๆ ฝ่ายที่อยากเห็นการกลไกศึกษาของประเทศนี้ ก้าวข้ามวังวนเดิมๆ ให้วาทกรรมและกิจกรรมการศึกษาไดกลายเป็นเรื่องดีงามและสอดคล้องกันกว่าที่เป็นมา… และไม่ว่าจะอย่างไร อย่างน้อยก็เป็นความเคลื่อนไหวที่เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง และผมมองว่าเป็นการทำหลักสูตรเชิงรุก ต่อยอดจากการทดลองใช้ Active Learning ในกลุ่มศึกษานิเทศก์ ครูอาจารย์และโรงเรียนที่ทดลองนำร่องมาระยะหนึ่ง… การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะเปลี่ยนได้มากได้น้อยหรือถูกใจใครไม่ถูกใจใครก็ไม่สำคัญเท่ากับ… มีความเคลื่อนไหวชัดเจนอีกขั้นแล้วหละ!
วันนี้ขอนำเสนอเพียงข่าวความเคลื่อนไหวก่อนน๊ะครับ ส่วนรายละเอียดและความคืบหน้าอะไรถึงไหนอย่างไรแล้วนั้น… ขอข้ามไปก่อน เนื้อข่าวต้นฉบับคลิกไปอ่านบนเวบไซต์ทำเนียบรัฐบาลต่อเลยครับ…
References…