กระแสอาคารเป็นมิตรต่อสุขภาพ หรือ Healthy Buildings ท่ามกลางความพยายามในการกลับมาเปิดเมืองและพากลไกทางเศรษฐกิจ กลับเข้าสู่ “วิถีที่ควรจะเป็น” หลังจากไวรัสโคโรน่าไล่ป่วนคนทั้งโลก และหลายพื้นที่ยังเรียกว่าวิกฤตสาหัสอยู่ไม่น้อย
ข้อเท็จจริงเรื่องสุขอนามัยและความสะอาด ในพื้นที่สาธารณะที่คนจำนวนมากจากหลายที่ วนเวียนเปลี่ยนผ่านแวะกิน แวะใช้ ไปมาหาสู่เป็นพลวัตร… แต่เดิมก็อ่อนไหวและมีประเด็นหลายมิติ ที่เกิดจากสังคมแออัดเบียดเสียดและ “ทำกำไรกับฝูงชน” ให้เห็นผลกระทบข้างเคียงที่วนกลับไปกระทบ “สมาชิกในฝูงชน” ต่อไปเป็นโซ่ยาวเหยียดจนสิ้นสุดที่สุขภาวะทั้งร่างกายและจิตใจ
การกลับมาของฝูงชนหลังวิกฤต COVID19 จึงมีประเด็นเรื่อง “แออัดยัดเยียด” ซึ่งธุรกิจที่ “ทำกำไรจากปริมาณเกินพอดี” มานาน ย่อมกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่มาตรฐานเรื่องการใช้อาคารสถานที่และสิ่งของสาธารณะร่วมกัน ก็มีมาตรฐานใหม่เกิดขึ้นและดำเนินการให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ไม่ต่างจากเมื่อครั้งหลังวิกฤตจี้เครื่องบินไปชนตึกเวิลด์เทรดในนิวยอร์ค ที่ทำให้มาตรฐานการใช้สนามบินทั่วโลก ปรับเปลี่ยนเหมือนกันหมด
กรณีอาคารสถานที่และพื้นที่สาธารณะ หรือแม้แต่พื้นที่ๆ คนแปลกหน้าจะมีโอกาสเจอหน้าเห็นตัวกันในระยะใกล้ หรือใช้พื้นที่ สิ่งของหรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่อกัน… การเฝ้าระวังเรื่องสุขอนามัยด้วยแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานที่เชื่อถือได้ จะเป็นเรื่องสำคัญที่เกิดกระแสพูดคุยแลกเปลี่ยนมากมาย
ผมไปเจอบทความชื่อ Why COVID-19 Raises the Stakes for Healthy Buildings ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับเดิมพันครั้งใหญ่เรื่องอาคารที่เป็นมิตรต่อสุขภาพหลังวิกฤต COVID19 อ้างอิงเอกสารและความเห็นของ John D. Macomber จาก Harvard Business School และ Joseph G. Allen จาก Harvard T.H. Chan School of Public Health และผู้เขียนหนังสือ Healthy Buildings: How Indoor Spaces Drive Performance and Productivity ที่เพิ่งวางขายผ่าน Amazon.com ไปเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา… ยิ่งกว่าเสือปืนไวซะอีก
ซึ่งศาสตราจารย์ทั้งสองให้ความเห็นเรื่องประหยัดค่าไฟฟ้าและระบบกรองอากาศดีๆ ในอาคารหรือแม้แต่โรงงาน อาจจะได้ไม่คุ้มเสียอีกต่อไปหลังวิกฤต COVID19
John D. Macomber ให้ความเห็นอย่างหนักแน่นว่า… ในประเทศที่กำลังกลับไปเริ่มทำงานกันอีกครั้งหลังการ Lock Down… ความใส่ใจเรื่องมาตรการด้านสุขอนามัยในอาคารและที่ทำงาน จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่าเดิมมาก และทั้งหมดไม่มีประเด็นเรื่องถูกแพงให้กังวลอีกแล้ว เพราะมาตรฐานเรื่องสุขอนามัยกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ “จำเป็นต้องมี หรือ Must-haves” แม้ว่าจะเพิ่มต้นทุนขึ้นอีกมาก แต่ก็เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและกำไรได้มากเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างเรื่องคุณภาพอากาศที่ถูกละเลยมานานคือ ระบบระบายอากาศบนเครื่องบินที่ทำผู้โดยสารง่วงนอนแม้จะเดินทางระยะสั้นๆ ในขณะที่บ่อนคาสิโนส่วนใหญ่ เข้าใจเรื่องอากาศสดชื่นเย็นสบายและสะอาด ทำให้ลูกค้าคึกคักกับเกมส์ได้ยาวๆ มานานแล้ว
การวิจัยแบบ Double Blind Studies ที่ทำกับกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานอาคารที่ระบบระบายอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่ถูกสุขอนามัยหลากหลายแบบชี้ว่า… กลุ่มพนักงานที่ทำงานและใช้อาคารประจำไม่สามารถแยกความรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรกับสุขภาพตัวเองได้
เอกสารชื่อ Building Evidence The 9 Foundations of a Healthy Building ซึ่งมีชื่อ Joseph G. Allen และคณะ ได้เผยแพร่เอกสารฉบับเต็มผ่านเวบไซต์ ForHealth.org ได้กำหนดมาตรฐาน 9 ด้านที่อาคารสถานที่หลังยุคโควิดควรตรวจสอบ ได้แก่
1. Ventilation หรือ ระบบระบายอากาศ
2. Air quality หรือ คุณภาพอากาศ
3. Thermal Health หรือ อุณหภูมิเหมาะสม
4. Moisture หรือ ความชื้นเหมาะสม
5. Dust and Pests หรือ ฝุ่นละอองและสัตว์เลี้ยง
6. Safety and Security หรือ ความปลอดภัย
7. Water Quality หรือ คุณภาพน้ำ
8. Noise หรือ เสียงรบกวน
9. Lighting and Views หรือ แสงและทิวทัศน์

บทความตอนนี้ขอจบด้วนๆ เท่านี้ก่อนครับ… ตัวรายละเอียดแม้จะดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ Guideline ต่างๆ ที่เผยแพร่ไม่ได้อ้างอิงและชัดเจน ซึ่งคนทำงานด้านที่ปรึกษาก็เข้าใจได้ว่ารายละเอียดจริงๆ เป็นของมีราคา… แต่ของ Properea จะพยายามค้นคว้ารายละเอียดที่เชื่อถือได้ ครอบคลุมทั้งมิติสุขอนามัย วิศวกรรมและธุรกิจมาบอกเล่าในโอกาสหน้าครับ… เอกสารที่ต้องค้นเพิ่มเยอะไม่ธรรมดาและเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่มาก ข้อมูลจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ก็ยังถือว่าน้อย…
ขอบคุณที่ติดตาม!
อ้างอิง
https://forhealth.org/9_Foundations_of_a_Healthy_Building.February_2017.pdf
https://hbswk.hbs.edu/item/why-covid-19-raises-the-stakes-for-building-health
https://www.floordaily.net/floorfocus/the-healthy-building-movement-a-focus-on-occupants-augsep-2017
https://www.hbs.edu/faculty/Pages/profile.aspx?facId=92011