ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม… คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ แถลงว่า… สถานการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องโดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI ณ สิ้นเดือนกันยายน 2022 อยู่ที่ 97.90 ขยายตัว 3.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน… เป็นการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และ ส่งออก… โดยโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 22 ติดต่อกัน… และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยังคาดว่าดัชนี MPI เดือนตุลาคม 2022 จะยังขยายตัวต่อเนื่อง… ซึ่งสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ยังไม่กระทบต่อการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในภาพรวม และ กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำมาตรการป้องกัน เยียวยา และ ฟื้นฟู พร้อมลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ และ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นการเร่งด่วนอย่างต่อเนื่อง
คุณวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า… ดัชนี MPI เดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ขยายตัว 3.36% และ ไตรมาส 3 ปี พ.ศ. 2565 ขยายตัว 8.06% ส่งผลให้ 9 เดือนแรก ปี พ.ศ. 2565 มีอัตราการขยายตัว 2.83% โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวก ได้แก่… กลุ่มยานยนต์จากรถบรรทุกปิกอัพ รถยนต์นั่งขนาดกลาง และ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นและสามารถผลิตได้ต่อเนื่อง… น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวจากการเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ… และ ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวตามการเติบโตของตลาดโลก
ทั้งนี้ จากการใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย หรือ The Early Warning System Industry Economics หรือ EWS-IE พบว่า… คาดการณ์ดัชนี MPI เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง และ ทั้งปี พ.ศ. 2565 คาดการณ์การขยายตัวเอาไว้ที่ 1.5 – 2.5% มาจากแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่มีทิศทางดีขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และ การบริโภคในประเทศ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ
นอกจากนี้… สถานการณ์การส่งออกจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอาเซียน และตะวันออกกลาง เช่น ประเทศกลุ่ม CLMV กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม กับ การส่งออกไปออสเตรเลีย… แต่ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่…
- ค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลง ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ FED
- วิกฤตพลังงานจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ทำให้ต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมไทยเพิ่มขึ้น
- ทิศทางเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงการเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐ สหภาพยุโรป จีน และ ญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี… อุตสาหกรรมภาคการผลิตในภาพรวมไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมมากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการเตรียมพร้อมรับมือ และ มีมาตรการป้องกันจากประสบการณ์น้ำท่วมที่เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554… ในขณะเดียวกัน สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบสิ่งของอุปโภค บริโภค และ ของใช้ที่จำเป็น เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงร่วมปล่อยขบวนคาราวานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ภายใต้โครงการ “อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย” ของกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย และ ยังได้จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางมาตรการป้องกัน เยียวยา และ ฟื้นฟูผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป…
สรุปว่า… เศรษฐกิจบ้านเรากำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องแต่เชื่องช้าหน่อย!
References…