11 Restaurant Marketing Ideas

Food Photographer

มีข้อความทักผมเข้ามาหลายวันก่อน ขอปรึกษาหาไอเดียทำ Digital Marketing Campaign สำหรับร้านอาหาร ซึ่งเจ้าของข้อความเป็นหุ้นส่วนร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด และปรับปรุงร้านหลายอย่างเพื่อลุยต่อ… ผมตัดสินใจต่อโทรศัพท์กลับไปคุยกับเจ้าของข้อความ เผื่อผมมีข้อมูลและแนวทางในมือแบ่งปันกันได้ใกล้เคียงกับประเด็นที่เจ้าของข้อความ วางใจจนทักถามเข้ามา

บางส่วนของการสนทนาช่วยให้ผมได้เรียนรู้หลายอย่าง ที่ผมไม่เคยได้ทำเองและมีประสบการณ์ตรง ได้ข้อมูล Insight ที่น่าสนใจและคุ้มค่า และผมกลับมาทำข้อมูลบางส่วนที่รับปากจะช่วยค้นคว้าแบ่งปันกัน… และวันนี้ผมตัดเอาแนวทางและไอเดีย Marketing Campaign ที่น่าสนใจมาแบ่งปันต่อ ไปดูกันเลยครับว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง

1. จ้างช่างภาพมืออาชีพ

ภาพและคลิปวิดีโอที่จะใช้เผยแพร่ออนไลน์ทุกช่องทาง คือเครื่องมือสำคัญที่สุดในการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งภาพหลักๆ อย่างภาพอาหาร ภาพบรรยากาศร้าน รวมทั้งคลิปวิดีโอกับเรื่องเล่าจากมุมและมุมมองต่างๆ ที่ลูกค้าเป้าหมายมองหา… ถาม “ทำไม” กับลูกค้าประจำที่แวะมาอุดหนุนร้าน และถาม “ทำไม” เพื่อตามหาคำตอบ ที่ต้องใช้เพื่อแปลงเป็นภาพหรือคลิปวิดีโอเตรียมไว้

2. พัฒนา Loyalty Programs

ในการตลาดออนไลน์… แคมเปญการตลาดอย่างส่วนลด หรือบัตรสะสมแต้ม รวมทั้งระบบสมาชิก รวมทั้งกลไกสานสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่า ต้องวางแผนใช้งานผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค และเรียนรู้เครื่องมือทางการตลาด และ Loyalty Programs เช่น ฟังก์ชั่นคูปอง ใน Line OA หรือระบบทางการตลาดของแอพบริการสั่งส่งอาหาร

3. สร้างบัญชี Google My Business

โปรไฟล์สำหรับร้านและธุรกิจ ที่จะแสดงผลบนหน้าผลการค้นหาใน SERP หรือ Search Engine Results Pages ของ Google Search และ Google Maps เพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้งร้าน และข้อมูลสำคัญๆ เกี่ยวกับร้าน… เพื่อช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจ

4. ซื้อโฆษณาออนไลน์

การทำการตลาดทางตรงที่ดีที่สุดก็ยังเป็นการซื้อสื่อเพื่อโฆษณาธุรกิจอยู่ ข้อควรระวังก็เพียงแค่ การทำโฆษณาออนไลน์ต้องมีกลยุทธ์และเทคนิคที่ดี หวังผลได้และวัดผลได้ ซึ่งรายละเอียดการซื้อสื่อโซเซี่ยลมีเดียเพื่อทำโฆษณา จะมีรายละเอียดเฉพาะกรณี โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เห็นโฆษณาเป็นสำคัญ

5. ใช้ Email และข้อความสื่อสารกับลูกค้าเก่าและผู้ติดตามทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค

ลูกค้าและผู้ติดตามทางโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ Follow ร้านอยู่ ลูกค้าเหล่านี้ย่อมมีเหตุผลที่อยากติดตาม และการสื่อสารกับเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ… ย้ำว่าสม่ำเสมอ! และอย่าลืมหาเทคนิคเพิ่มยอดใช้จ่ายของลูกค้าที่ร้านเรา ผ่านช่องทางสื่อสารทางตรงนี้ ซึ่งคำแนะนำจากผมก็คือ ควรใช้งบประมาณทางการตลาดอย่างเหมาะสมในระดับเดียวกับการซื้อโฆษณาออนไลน์ด้วย

6. ส่งเสริม Customers’ Contents

หาแคมเปญส่งเสริมการตลาดแบบให้ลูกค้าเขียนถึง รีวิวเมนูหรือร้าน และช่วยเผยแพร่ ซึ่งอาจจะเป็นการประกวดด้วยเงื่อนไขที่จำเกิดการบอกต่อบนโซเชียล

7. ส่งเสริมให้พนักงานทำ Personal Contents เชื่อมโยงกับร้าน

Contents Marketing จากทุกคนในร้าน ที่มีการวางแผนอย่างดีและขับเคลื่อนแบบนักการตลาดออนไลน์มืออาชีพ จะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมต่อเนื่องได้ดีกว่าการทุ่มทำ Contents แต่เฉพาะในนามร้าน… โดยเฉพาะความภาคภูมิและแรงใจของบุคคลากรภายในร้าน จะส่งผลโดยตรงถึงบริการที่ลูกค้าจะไดรับอีกด้วย

8. ทำ Social Listening หรือการเฝ้าฟังทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค

หากไม่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณจนเกินไป การซื้อบริการ Social Listening เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของลูกค้า และลูกค้าเป้าหมาย ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับร้าน คู่แข่ง และธุรกิจที่มีลูกค้ากลุ่มเดียวกัน… ซึ่งการตามให้ทันแนวโน้มของลูกค้าที่ใช่ จะนำมาซึ่งการแก้ไขข้อบกพร่องติดขัดอย่างชัดเจนและทันการณ์

9. เขียน Blog หรือ ทำเวบไซต์

การเปิดเวบไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลขั้นละเอียด เกี่ยวกับร้านและบริการ ถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับธุรกิจทุกชนิด ไม่เว้นแม้กระทั่งร้านอาหาร… อย่างน้อยๆ เวบไซต์จะเป็นเหมือนโบชัวส์ส่งเสริมการขาย ใส่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และใส่ข้อมูลยืนยันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจไปด้วยกันได้ด้วย…และการเขียน Blog เพิ่มในเวบไซต์ จะทำให้เวบไซต์มีสาระให้น่าสนใจขึ้นไปอีก แต่… การเขียน Blog ต้องวางแผนเช่นเดียวกับการทำ Contents Marketing ชั้นดีที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมายได้จริง

10. เมนูออนไลน์ และ ระบบสั่งอาหารดิจิตอล

ปัจจุบันการบริหารร้านอาหารควรซื้อบริการซอฟท์แวร์ระบบร้านอาหาร ซึ่งระบบที่สมบูรณ์แบบ จะมีฟังก์ชั่นระบบหน้าร้านและระบบหลังร้านให้ครบถ้วน ซึ่งสามารถลดความผิดพลาดเรื่องการตรวจนับและตรวจสอบได้ทั้งหมด รวมทั้งมีระบบเพื่อบริการลูกค้าตั้งแต่เมนูออนไลน์ จองโต๊ะ สั่งอาหาร จ่ายเงิน… มาถึงร้านก็ยกเสิร์ฟหรือหิ้วกลับได้เลย

11. อวดวัตถุดิบปรุงอาหาร และ Supply Chain ของร้าน

ร้านอาหารมากมายที่สร้างความน่าเชื่อถือ ด้วยการเปิดเผยที่มาหรือแหล่งผลิตวัตถุดิบปรุงอาหาร ที่ทางร้านได้มาอย่างภาคภูมิใจและใส่ใจ เพื่อส่งมอบทั้งหมดนั้นให้ลูกค้า… การ Update ข้อมูลข่าวสารวัตถุดิบปรุงอาหารผ่าน Blog ของร้าน… คนของร้าน และโซเชียลมีเดีย

แต่ละรายการที่เสนอไอเดียไว้ ยังมีรายละเอียดอีกมากที่ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม… ยืนยันว่ามีมาก เยอะและยิบย่อย แต่ไม่ยากอย่างที่คิดหรอกครับ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ของใหม่อะไร เหมือนสูตรอาหารมาตรฐานที่ไม่ใช่ของใหม่และทำให้คนมีสูตรอาหารเป็นเชฟเลื่องชื่อไม่ได้… เว้นแต่จะเอาสูตรอาหารไปปรุงจริงจนกินได้ขายออกและมหาชนชื่นชอบ… Digital Marketing Campaign ก็ไม่ต่างจากสูตรอาหาร

ประมาณนี้… เป็นอย่างน้อยครับ!

Share this post

Add Properea's Friend

เพิ่ม Properea.com เป็นเพื่อนทาง Line
ท่านจะได้ Link บทความใหม่ส่งตรงให้อย่างสม่ำเสมอโดยรบกวนแต่น้อย

Related Post

Digital Analytics

RACE Model… สูตรใหม่ Digital Marketing

ลักษณะเด่นของ RACE Funnel หรือ RACE Model ก็คือ ทั้ง Reach… Act… Convert และ Engage โดยแต่ละลำดับในโมเดล จะสัมพันธ์กับเครื่องมือ Digital Marketing ของธุรกิจ ตั้งแต่งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ทางดิจิทัล… การทำ Call to Action กับกลุ่มเป้าหมาย… การเปลี่ยนเป้าหมายเป็นยอดขาย และปรับยอดขายเป็นแฟนพันธ์แท้… ซึ่งทั้ง 4 ขั้นตอนไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่ “จบและจากกันเมื่อค้าขายจ่ายเงินเสร็จ แต่ยังสามารถ “วน” เอาลูกค้าเดิมกลับเข้า Funnel แบบอัตโนมัติได้ซ้ำไม่รู้จบได้ด้วย

Digital Nomad

Citizen Nomad

ผมเป็นพวกนั่งทำงานไม่เป็นหลักแหล่งเข้าขั้นเร่ร่อนเลยหล่ะครับ… ชีวิตส่วนใหญ่เร่ร่อนอยู่ในเชียงใหม่กับ Notebook ตัวเก่งแวะสิงตามร้านกาแฟเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางครั้งที่ต้องปักหลักยาวกับ Co-Working Space ที่ต้อง “นั่งยาว-เฝ้าจอ-ต่อเวลา” ให้งานในสมอง ถูกระบายออกมาเป็นอะไรซักอย่าง

Freeze Dry

Freeze Dried Technology กับอุตสาหกรรมอาหารกึ่งสำเร็จรูป

อาหาร Freeze Dried ในปัจจุบันสามารถแปรรูปอาหารพร้อมรับประทาน ให้สามารถคืนรูปเหมือนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้แทบทุกชนิด และกำลังเป็นแนวทางใหม่ในการแปรรูปอาหาร ที่ไปไกลกว่าการ Freeze Dried แค่ผักผลไม้ ซึ่งเป็นภาพเก่าของอาหาร Freeze Dried อยู่

สถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลก และ โอกาสส่งออกอาหารแปรรูปของไทย

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 มีมติรับทราบความคืบหน้าและแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) โดยคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แจ้งข่าวความคืบหน้าด้วยตัวเอง… ซึ่งตั้งเป้าส่งออกอาหารแปรรูปของไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2022 ด้วยมูลค่ากว่า 600,000 ล้านบาท… โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 18.4% และ ผลักดันเป้าหมายปี 2565 ทั้งปีให้ทะลุ New High 1,300,000 ล้านบาท พร้อมพลิกวิกฤตเป็นโอกาสรับมือสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลก ก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก ผ่าน 4 มาตรการ เพื่อเร่งสร้างโอกาสสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคต